S 7012598

กลุ่มบริหารงานบุคคล

ระเบียบโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ว่าด้วย ความประพฤติของนักเรียน 

          อาศัยอำนาจตามความในกฎกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548(ข้อ 2 ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษากำหนดระเบียบว่าด้วยความประพฤติของนักเรียน  และนักศึกษาได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้) และฉบับที่ 2 พ.ศ.2562โรงเรียนยโสธรพิทยาคมจึงออกระเบียบว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักเรียนโรงเรียนยโสธรพิทยาคมต้องประพฤติตนดังต่อไปนี้

  • ปฏิบัติตนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด เพื่อนำชื่อเสียงเกียรติยศมาสู่ตัวเองและโรงเรียน
  • แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน และเข้ารับการประเมินการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนตาม วัน เวลาที่โรงเรียนกำหนดทุกครั้ง
  • เข้าเรียนตรงเวลา เข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง และเข้าร่วมกิจกรรมและปฏิบัติตามระเบียบของแต่ละกิจกรรมที่โรงเรียนกำหนดทุกครั้ง
  • แสดงกิริยาวาจาสุภาพอ่อนโยน และแสดงความเคารพครู บุคลากรทางการศึกษาและบุคคลที่ควรเคารพ
  • มีมารยาทในการฟัง การพูด และการรับประทานอาหารที่ดี
  • รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพย์สินของโรงเรียน รักษาความสะอาดของห้องเรียน อาคารเรียน บริเวณโรงเรียน และห้องน้ำ
  • ปฏิบัติตามกฎจราจรที่โรงเรียนกำหนดขึ้น
  • ไม่หนีเรียนหรือออกนอกบริเวณโรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียน
  • ไม่เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่นการพนัน หรือมั่วสุมในวงการพนัน
  • ไม่พกอาวุธหรือวัตถุระเบิด
  • ไม่ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด
  • ไม่ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ข่มขู่ หรือบังคับขืนใจเพื่อเอาทรัพย์บุคคลอื่น
  • ไม่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียมการหรือกระทำการใดๆ อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรวมกลุ่มหรือมั่วสุมเพื่อกระทำการดังกล่าว
  • ไม่แสดงพฤติทางชู้สาวอันไม่เหมาะสม กระทำการลามกอนาจาร แต่งกายล่อแหลม หรือไม่เรียบร้อยในโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือแต่งเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษาไม่เรียบร้อย และไม่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี
  • ไม่เที่ยวเตร่นอกสถานที่พักรวมกลุ่มหรือมั่วสุม อันเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น

                                       ให้ไว้ ณ วันที่1 พฤษภาคม   พ.ศ. 2562

 

                                              (นายชัชพล  รวมธรรม)

                                     ผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ระเบียบโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ว่าด้วย แนวปฏิบัติการลงโทษนักเรียน

............................................................................................................

อาศัยอำนาจตามความในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา 

พ.ศ. 2548  โรงเรียนยโสธรพิทยาคม จึงกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการลงโทษนักเรียนเพื่อถือปฏิบัติดังนี้

ความผิด

 

  1.       ความผิดเล็กน้อย เช่นมาโรงเรียนสาย เข้าเรียนช้าแต่งกายไม่เรียบร้อย ขาดเรียน หนีเรียน ไม่ส่งงานไม่เคารพครู  พูดจาไม่สุภาพ รับประทานอาหารไม่เป็นที่ ใช้รถใช้ถนนผิดระเบียบ ออกนอกบริเวณโรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือกระทำความผิดเล็กน้อยไม่เกิน 2 ครั้ง

การลงโทษ

ข้อใดข้อหนึ่งหรือทุกข้อต่อไปนี้

1.    ว่ากล่าวตักเตือน

2.    บันทึกความดี

3.    ตัดคะแนนความประพฤติ

4.    แจ้งผู้ปกครองทราบ

5.    ทำทัณฑ์บน

6.    ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

  2.       ความผิดปานกลาง / ความผิดชั้นสูงเช่นลักทรัพย์ ทำลายทรัพย์สิน กรรโชกทรัพย์ เล่นการพนัน ทะเลาะ วิวาท ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ชู้สาว เที่ยวเตร่ เสพยาเสพติด ก้าวร้าวครู – อาจารย์ มั่วสุมตามตู้เกม กระทำความผิดเล็กน้อยเกินกว่า 2 ครั้ง ฯลฯ

การลงโทษ

ข้อใดข้อหนึ่งหรือทุกข้อต่อไปนี้

1.    ว่ากล่าวตักเตือน

2.    บันทึกความดี

3.    ตัดคะแนนความประพฤติ

4.    แจ้งผู้ปกครองทราบ

5.    ทำทัณฑ์บน

6.    ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

7.    ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

 

  3.       ความผิดร้ายแรงเช่น ขายยาเสพติด ค้าประเวณี ความผิดขั้นสูงที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อผู้อื่น สถานศึกษา หรือส่วนรวม ความผิดอื่นที่ผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง

การลงโทษ

ทุกข้อต่อไปนี้

1.    บันทึกความผิด

2.    แจ้งผู้ปกครองทราบ

3.    แจ้งความดำเนินคดี

4.    ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

 

                                        ให้ไว้  ณ  วันที่ 1  พฤษภาคม  พ.ศ.  2562

 

                                                         (นายชัชพล  รวมธรรม)

   ผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ระเบียบโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ว่าด้วย การให้และการตัดคะแนนความประพฤติ

การทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน

 

         อาศัยอำนาจตามความในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 (ข้อ 9 การตัดคะแนนความประพฤติให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน นักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำหนดและให้บันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน ข้อ 10 ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม)

         โรงเรียนยโสธรพิทยาคม จึงออกระเบียบว่าด้วยการให้และการตัดคะแนนความประพฤติและการ      ทำกิจกรรม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

 

คะแนนเต็มทั้งหมด 100 คะแนน

1. แต่งกายผิดระเบียบ

  • ใส่กางเกง/กระโปรงผิดระเบียบ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ใส่ชุดกีฬาในวันที่ไม่มีวิชาพลศึกษา หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ใส่เสื้อที่ไม่ปักชื่อ-สกุล จุดสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ถูกต้อง หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ใส่เสื้อบุคคลอื่นหรือสวมใส่ผิดระเบียบของโรงเรียน หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ใส่เข็มขัดผิดระเบียบ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ทรงผมผิดระเบียบ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • หนวดเคราผิดระเบียบ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ย้อมสีผม หรือใส่ครีม หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ใช้เครื่องสำอางตกแต่งร่างกาย หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ใช้เครื่องประดับตกแต่งร่างกายที่ผิดระเบียบ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • เล็บยาว หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ตกแต่งเล็บ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ใส่รองเท้าผิดระเบียบ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ใส่รองเท้าโดยการเหยียบส้นรองเท้า หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ใส่ถุงเท้าผิดระเบียบ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ถือกระเป๋าหนังสือผิดระเบียบ หักครั้งละ 5 คะแนน

2. มาสาย หักครั้งละ 5 คะแนน

3. เข้าเรียนช้า หักครั้งละ 2 คะแนน

4. ไม่เข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง หักครั้งละ 3 คะแนน

5. หนีเรียน/หลบเรียน หักครั้งละ 5 คะแนน

6. ออกนอกบริเวณโรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต หักครั้งละ 5 คะแนน

7. ออกนอกบริเวณโรงเรียนโดยได้รับอนุญาต แต่ไม่กลับเข้ามาในโรงเรียน หักครั้งละ 5 คะแนน

8. เข้าหรือออกโรงเรียนโดยการปีนรั้วโรงเรียน หักครั้งละ 5 คะแนน

9. ขาดโรงเรียน หักครั้งละ 5 คะแนน

10. ไม่พกบัตรประจำตัวนักเรียน หักครั้งละ 5 คะแนน

11. ภาวะเสี่ยงตามกฎกระทรวงปี 2548

  • เล่นหรือมีส่วนร่วมการพนัน หักครั้งละ 50 คะแนน
  • พกพาอาวุธ หรือวัตถุระเบิด หักครั้งละ 50 คะแนน
  • มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด หรือสิ่งเสพติด หักครั้งละ 50 คะแนน
  • ลักทรัพย์ หรือกรรโชกทรัพย์ หักครั้งละ 50 คะแนน
  • ก่อเหตุทะเลาะวิวาท หักครั้งละ 50 คะแนน
  • แสดงพฤติกรรมทางชู้สาว หักครั้งละ 50 คะแนน
  • เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี หักครั้งละ 50 คะแนน
  • ทำลายทรัพย์สินของทางโรงเรียน หักครั้งละ 50 คะแนน
  • ออกนอกที่พักอาศัยเพื่อเที่ยวเตร่ในเวลาวิกาล หักครั้งละ 50 คะแนน

12. การแสดงความเคารพ

  • ไม่ทำความเคารพก่อนเริ่มเรียน หรือหลังเลิกเรียน หักครั้งละ 2 คะแนน
  • ไม่ทำความเคารพเมื่อส่งงาน หรือรับงาน หักครั้งละ 2 คะแนน
  • ไม่ทำความเคารพเมื่อเดินผ่านครู หรือครูเดินผ่าน หักครั้งละ 2 คะแนน
  • ไม่ทำความเคารพเมื่อขับขี่ยานพาหนะผ่านครู หักครั้งละ 2 คะแนน

13.  การปฏิบัติตามกฎจราจรในโรงเรียน

  • ไม่เดินตามเส้นทางที่กำหนด หักครั้งละ 5 คะแนน
  • เดินลัดสนาม หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ไม่ขับขี่ยานพาหนะตามเส้นทางที่กำหนด หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ไม่เก็บยานพาหนะในบริเวณที่กำหนด หักครั้งละ 5 คะแนน

 

14. การใช้โทรศัพท์มือถือในโรงเรียน

  • โทร หรือรับโทรศัพท์ในเวลาเรียน หักครั้งละ 5 คะแนน
  • โทรหรือรับโทรศัพท์ในขณะขับขี่ยานพาหนะ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ฟังเพลง/เล่นเกม/เล่นไลน์/ถ่ายรูปในเวลาเรียน หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ฟังเพลง/เล่นเกม/เล่นไลน์/ถ่ายรูปในขณะเดิน หรือขณะขับขี่ยานพาหนะ หักครั้งละ 5 คะแนน

15. มารยาทในการรับประทานอาหาร

  • ไม่เก็บภาชนะใส่ในที่กำหนดหลังรับประทานอาหารเสร็จ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ไม่ทิ้งขยะลงในถังขยะ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ไม่มีมารยาทในการรับประทานอาหาร หักครั้งละ 5 คะแนน
  • รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มบนอาคาร หรือห้องเรียน หักครั้งละ 5 คะแนน
  • รับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มขณะเดิน หรือขับขี่ยานพาหนะ หักครั้งละ 5 คะแนน

 

16. มารยาทในการฟังและพูด

  • พูดคุย หรือส่งเสียงดังจนเป็นที่รบกวนคนอื่น หักครั้งละ 5 คะแนน
  • พูดจาหยาบคาย หักครั้งละ 5 คะแนน
  • เล่น หรือหยอกล้อกันในขณะเรียนหนังสือ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • พูดจาก้าวร้าวครู–บุคลากรทางการศึกษา หักครั้งละ 5 คะแนน

17. การรักษาความสะอาด

  • ไม่ทำความสะอาดห้องเรียนตามหน้าที่รับผิดชอบ หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ทำให้ห้องเรียน/ห้องน้ำสกปรก หักครั้งละ 5 คะแนน
  • ทำให้โต๊ะเรียน/ อาคารเรียนสกปรก หักครั้งละ 5 คะแนน

18. มาตรการดำเนินการ

  • นักเรียนถูกตัดคะแนนสะสมถึง 20 คะแนน แจ้งผู้ปกครองทราบและลงโทษโดยการว่ากล่าวตักเตือน
  • ถูกตัดคะแนนสะสมถึง 50 คะแนน แจ้งผู้ปกครองและลงโทษโดยทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ถูกตัดคะแนนสะสมถึง 80 คะแนน แจ้งผู้ปกครองและลงโทษทำทัณฑ์บน
  • ถูกตัดคะแนนสะสมถึง 100 คะแนน แจ้งผู้ปกครอง ลงโทษตามพันธะ ข้อ 3

 

คะแนนการทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • เป็นตัวแทนโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะด้านต่างๆ ได้ครั้งละ 20 คะแนน
  • ทำการแข่งขันทักษะต่างๆ ได้รับเกียรติบัตร/โล่รางวัล/เหรียญรางวัล/สร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ได้ครั้งละ 20 คะแนน
  • ช่วยกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นทุกประเภท ได้ครั้งละ 10 คะแนน
  • เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ที่โรงเรียนให้เข้าร่วม ได้ครั้งละ 5 -10 คะแนนตามความเหมาะสมของกิจกรรม
  • เข้าค่ายอบรมที่โรงเรียนหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องจัดขึ้น ให้ครั้งละ 20 คะแนนตามความเหมาะสมของโครงการอบรม
  • คณะกรรมการนักเรียน ได้ 20 คะแนน/ภาคเรียน
  • หัวหน้าห้อง ได้ครั้งละ 20 คะแนน/ภาคเรียน
  • หัวหน้าฝ่ายการเรียน ฝ่ายการงาน ฝ่ายกิจกรรม  และฝ่ายสารวัตรนักเรียนระดับห้องเรียน     ระดับชั้นเรียน  ระดับโรงเรียน  ได้ 20 คะแนน/ภาคเรียน
  • คณะกรรมการฝ่ายการเรียน ฝ่ายการงาน ฝ่ายกิจกรรม  และฝ่ายสารวัตรนักเรียนระดับห้องเรียน    ได้ 20 คะแนน/ภาคเรียน
  • สารวัตรจราจรนักเรียน ได้ 10 คะแนน /การปฏิบัติภารกิจ 1 ครั้ง
  • ของหายได้คืนได้คะแนนตามมูลค่าของสิ่งที่นำมาคืนได้คะแนนขั้นต่ำ 2 คะแนน สูงสุดไม่เกิน 50 คะแนน
  • ทำความสะอาดห้องเรียน/ห้องพักครู ครั้งละ 5 คะแนน
  • ปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาโรงเรียน ครั้งละ 5 คะแนน
  • พัฒนาห้องน้ำ ครั้งละ 5 คะแนน
  • กิจกรรมอื่นๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมตามดุลพินิจของครูผู้ประเมิน 5- 10 คะแนน

                             ให้ไว้ ณ วันที่1   พฤษภาคม  พ.ศ.  2562

 

                                        (นายชัชพล  รวมธรรม)

                                       ผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ระเบียบโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ว่าด้วย  การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์

การวัดและการประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

          อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3.6.3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สถานศึกษาต้องร่วมกับชุมชนกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อทราบเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน      ด้านคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยม  ในแต่ละภาคเรียนครูผู้สอนต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลรวม      ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เพื่อปรับปรุง พัฒนาและการส่งต่อ ควรประสานสัมพันธ์กับผู้เรียน  ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องร่วมกันประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด   โรงเรียนยโสธรพิทยาคมจึงขอกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การวัดและการประเมินผลคุณลักษณะ        อันพึงประสงค์ของนักเรียน  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

  • รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต         3.  มีวินัย                   4.  ใฝ่เรียนรู้
  • อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน    7.  รักความเป็นไทย       8.  มีจิตสาธารณะ

ดัชนีวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์

  • แต่งกายถูกระเบียบวินัยของโรงเรียน
  • มาโรงเรียนทันเวลา และเข้าเรียนสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
  • เข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงและกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนกำหนดอย่างสม่ำเสมอ
  • เดินแถวเป็นระเบียบและเคารพกฎจราจรทั้งในและนอกโรงเรียน
  • รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ
  • มีสัมมาคารวะ และมีความรับผิดชอบ
  • มีมารยาทในการฟังและการพูดที่ดีและมีมารยาทในการรับประทานอาหารที่ดี
  • มีสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตที่ดี
  • มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
  • ปราศจากภาวะเสี่ยง (ตามกฎกระทรวงว่าด้วยกำหนดความประพฤติของนักเรียน นักศึกษา พ.ศ. 2548)
  • ห่างไกลยาเสพติด และอบายมุข
  • บริเวณโรงเรียนสะอาด ร่มรื่นอาคารสะอาดห้องเรียนสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วมสะอาด
  • ชนะเลิศการแข่งขันทักษะทางการศึกษาในระดับดีมาก
  • นักเรียนจบการศึกษาภาคบังคับและขั้นพื้นฐานร้อยละ 100 ในแต่ละปี
  • เข้าศึกษาต่อในระดับอนุปริญญา และระดับอุดมศึกษาได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
  • ได้รับการยกย่อง ชมเชยจากผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม ว่าเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ

การวัดและการประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์

สิ่งที่วัด

  • การแต่งกาย
  • การมาเรียน
  • การเข้าเรียน และการเข้าห้องสอบ
  • การร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนกำหนด/กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
  • การทำความเคารพ
  • พฤติกรรมเสี่ยง (ตามกฎกระทรวงว่าด้วยกำหนดความประพฤติของนักเรียน นักศึกษา
    พ.ศ. 2548)
  • การใช้โทรศัพท์มือถือ
  • การจราจร/การใช้รถใช้ถนน
  • มารยาทการรับประทานอาหาร
  • มีมารยาทในการฟังและการพูด
  • การใช้อาคาร/สถานที่
  • การใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม
  • การรักษาทรัพย์สินของโรงเรียน
  • การติดต่องานภายในโรงเรียน
  • การใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
  • ความซื่อสัตย์
  • การรักษาสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

วิธีการวัด

          วัดโดยการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

ผู้ดำเนินการวัด

  • ครูผู้สอน ครูประจำชั้น          3.  ครูเวร                  4.  ครูปกครองกลุ่มสาระ

5.  คณะกรรมการงานกิจการนักเรียน            6.  หัวหน้ากลุ่มสาระฯ    7.  คณะกรรมการนักเรียน

เครื่องมือที่ใช้วัด

          ใช้แบบสังเกตพฤติกรรม

  • การติดตามการเข้าเรียนกิจกรรมหน้าเสาธงและการติดตามการมาสาย
  • แบบติดตามการเข้าเรียน
  • การติดตามการขอออกนอกบริเวณโรงเรียน
  • ระเบียนสะสม
  • แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายเดือน ในสมุดธนาคารความดี
  • แบบขอปฏิบัติกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหักคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์

เกณฑ์การวัด

คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์คะแนนเต็ม  100 คะแนน

          ได้คะแนน 90 – 100คะแนน                ระดับดีมาก

          ได้คะแนน 85 – 89  คะแนน                ระดับดี

          ได้คะแนน 80 – 84  คะแนน                ระดับปานกลาง

          ได้คะแนนต่ำกว่า 80    คะแนน             ควรปรับปรุงแก้ไข

          การหักคะแนนพฤติกรรมและการให้คะแนนการทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปตามระเบียบของโรงเรียนยโสธรพิทยาคม  ว่าด้วยการหักคะแนนความประพฤติและการให้คะแนนการทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  พุทธศักราช 2562

การประเมิน

ผู้ทำการประเมินประกอบด้วย

  • ครูผู้สอน ครูประจำชั้น                    3.  ครูปกครองกลุ่มสาระการเรียนรู้

4.   หัวหน้ากลุ่มสาระ         5.  ครูกิจการนักเรียน

การประเมินแบ่งออกเป็น4  ขั้นตอน

  • การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รวมรายสัปดาห์ โดยนำเอาแบบสังเกตพฤติกรรมจากครูผู้สอน

ครูประจำชั้น ครูเวร  ครูปกครองกลุ่มสาระ  คณะกรรมการกิจการนักเรียน และหัวหน้าชั้นเรียน มาประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนแต่ละคน แต่ละห้อง แต่ละกลุ่มสาระ แล้วสรุปผลแจ้งไปยัง ครูประจำชั้น ครูผู้สอน ครูปกครองกลุ่มสาระ และหัวหน้ากลุ่มสาระทราบในวันจันทร์ของสัปดาห์ถัดไป

  • การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รวมรายเดือน แบ่งออกเป็น2 กรณี
    • คุณลักษณะอันพึงประสงค์รวมรายเดือน มีแนวปฏิบัติเช่นเดียวกับการประเมินรายสัปดาห์ แต่จะ

เพิ่มการสำรวจว่ามีนักเรียนมากน้อยเท่าใดที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและไม่มาดำเนินการขอทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อแก้คะแนนที่ถูกหัก

          2.2 นักเรียนยื่นแบบขอประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของตนเองผ่านความเห็นชอบของครูประจำชั้น ครูปกครองกลุ่มสาระ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และคณะกรรมการกิจการนักเรียนถ้าไม่ผ่านต้องไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดการยื่นขอประเมินตนเอง ต้องเริ่มทำในสัปดาห์ที่ 3 และให้เสร็จสิ้นในสัปดาห์สุดท้ายของแต่ละเดือน

     3.  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รวมรายภาค มีแนวปฏิบัติ เช่นเดียวกับการประเมินรายเดือน

โดยนำเอาแบบสรุปรายเดือน มาประเมินรวมสรุปผลตัดสินคะแนนให้ระดับคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์

แจ้งไปยังครูผู้สอน ครูประจำชั้นและทำให้เสร็จก่อนสอบปลายภาค 1สัปดาห์

     4.  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รวมรายปี มีแนวปฏิบัติ เช่นเดียวกับการประเมินรายภาค      โดยนำเอาแบบสรุปรายภาคมาประเมินรวมสรุปผลตัดสิน

          4.1 ให้ระดับคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์แจ้งไปยังฝ่ายวิชาการ ครูประจำชั้น และทำให้เสร็จสิ้นก่อนสอบปลายภาค 1 สัปดาห์

          4.2 แจ้งรายชื่อผู้ที่ได้รับใบรับรองความประพฤติพร้อมกำหนดวันในการรับใบรับรองความประพฤติและต้องทำให้เสร็จก่อนปิดภาคเรียน 1สัปดาห์

เกณฑ์การผ่าน

  • นักเรียนที่ได้คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 80คะแนนขึ้นไป จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบรับรอง

ความประพฤติจากทางโรงเรียน มีเกณฑ์การวัดดังนี้

          ได้คะแนน   90 – 100   คะแนน           ความประพฤติเรียบร้อยดีมาก

          ได้คะแนน   85 – 89     คะแนน           ความประพฤติเรียบร้อย

          ได้คะแนน   80 – 84     คะแนน           ความประพฤติพอใช้

ใบรับรองความประพฤติต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคมเท่านั้น

  • ระดับคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ได้คะแนน 90 – 100     คะแนน           ได้ระดับคะแนน  3   ดีเยี่ยม

ได้คะแนน 85 – 89       คะแนน           ได้ระดับคะแนน  2   ดี

ได้คะแนน 80 – 84       คะแนน           ได้ระดับคะแนน  1   ผ่าน

ได้คะแนนต่ำกว่า 80      คะแนน           ได้ระดับคะแนน  0   ไม่ผ่าน

  • นักเรียนที่ได้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไปจึงจะได้รับระดับคะแนนผ่านรายวิชา

คุณธรรม  จริยธรรม

  • นักเรียนที่ได้ระดับคะแนน 0 แบ่งออกเป็น 2 กรณี  คือ
    • ได้คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่ำกว่า 80 คะแนน
    • ไม่ส่งแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนและธนาคารความดีตามเวลาที่กำหนด

การดำเนินการแก้คุณลักษณะอันพึงประสงค์

          การแก้คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

  • นักเรียนที่ถูกหักคะแนนคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไม่เกิน 20 คะแนน เมื่อทำความดีเพื่อแก้ไข

คะแนนแล้วจะได้รับผลการประเมิน ระดับ 1-3 (ตามระดับของคะแนนที่นักเรียนแก้ไข)

  • นักเรียนที่ถูกหักคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์เกิน 20 คะแนน เมื่อทำความดีแล้ว จะได้ผลการ

ประเมิน 1-2 เท่านั้น

                    ให้ไว้ ณ วันที่1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

 

         

 (นายชัชพล  รวมธรรม)

           ผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการทำความดีเพื่อได้คะแนน/แก้คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์

เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการทำความดีเพื่อได้คะแนน/แก้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โรงเรียนยโสธรพิทยาคมจึงขอกำหนดระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับการทำความดี เพื่อได้คะแนน แก้คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์   ดังนี้

  • ผู้ดำเนินการทำความดีเพื่อให้ได้คะแนน/แก้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือนักเรียน โรงเรียน

          ยโสธรพิทยาคม

  • ผู้ให้คะแนนทำความดีของนักเรียน คือ ครูโรงเรียนยโสธรพิทยาคมทุกคน
  • การให้คะแนนทำความดีของนักเรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด (ความดีที่มีคะแนน13 ข้อ)
  • ครูผู้ให้คะแนนทำความดีของนักเรียน ต้องบอกรายละเอียดของกิจกรรมที่ปฏิบัติจำนวนครั้ง คะแนน ชื่อตัวบรรจง ลายมือชื่อ ของครูผู้ให้คะแนนครบถ้วน ชัดเจนลงในแบบฟอร์มการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียน
  • ในกรณีที่กลุ่มสาระหรือชุมนุมหรืองานหรือกิจกรรมใดๆ ที่จัดให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต้องการให้นักเรียนมีคะแนนในการร่วมกิจกรรมนั้นๆ ขอให้นำสำเนาเรื่องที่ขอจัดกิจกรรม (ถ้ามี) พร้อมรายชื่อนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมและจำนวนคะแนนที่ให้ส่งที่งานส่งเสริมกิจการนักเรียนหลังจากกิจกรรมนั้นได้สิ้นสุดลง
  • ครูผู้บันทึกคะแนนรวบรวมคะแนนเพื่อวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ ครูกิจการนักเรียนที่ได้รับมอบหมายในแต่ละระดับชั้น
  • ให้นักเรียนทุกคนส่งใบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ครูประจำชั้นให้เสร็จสิ้นก่อนสอบปลายภาค 2สัปดาห์ถ้านักเรียนคนใดไม่ส่งแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนด ให้ครูประจำชั้นติดตาม มาส่งให้ครบ แล้วนำส่งที่งานส่งเสริมกิจการนักเรียนก่อนสอบปลายภาค 2สัปดาห์
  • ให้ครูประจำชั้นชี้แจงให้นักเรียนในความรับผิดชอบให้เข้าใจเกี่ยวกับความดีที่มีคะแนนผลการทำ

ความดีหลักเกณฑ์และวิธีการแก้คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เกณฑ์การจบหลักสูตรของช่วงชั้น

การดำเนินการแก้ระดับคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์

การดำเนินการแก้ระดับคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์แบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 นักเรียนที่ถูกหักคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไม่เกิน 20 คะแนน เมื่อทำความดี นำคะแนนมา 

          หักล้าง 100 คะแนน แล้วมีคะแนนคงเหลือ

                    80 – 84                   ได้ระดับคะแนน           1

                                      85 – 89                   ได้ระดับคะแนน           2

                                      90 – 100        ได้ระดับคะแนน           3

กรณีที่ 2 ถ้านักเรียนที่ถูกหักคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์เกิน 20 คะแนน เมื่อทำความดี นำคะแนนมา

หักล้าง 100 คะแนน แล้วมีคะแนนคงเหลือ

                                       80 – 89                   ได้ระดับคะแนน           1

                                       90 ขึ้นไป         ได้ระดับคะแนน           2

กรณีที่ 3 นักเรียนได้ระดับคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็น 0 (ศูนย์) แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

          3.1 มีคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ต่ำกว่า 80 คะแนน การดำเนินการแก้ระดับคุณลักษณะ      อันพึงประสงค์ให้เป็นไปตามกรณีที่ 2

          3.2 ไม่ส่งแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์การแต่งกาย เครื่องแบบนักเรียนตามกำหนด

เมื่อมาดำเนินการแก้ระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้ดำเนินการการดังนี้

          3.2.1 หักคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์  50 คะแนน

          3.2.2 ให้ทำความดี เพื่อแก้คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 50 คะแนนที่ถูกหักในข้อ 3.2.1 ก่อนแล้วจึงไปพิจารณาคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มีอยู่เดิมว่ามีคะแนนคงเหลือเท่าใดให้ดำเนินการแก้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรณีที่ 1 หรือ กรณีที่ 2 แล้วแต่กรณี

              ให้ไว้  ณ วันที่   1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

 

                     (นายชัชพล  รวมธรรม)

                       ผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ระเบียบโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ว่าด้วยการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

1. เครื่องแบบนักเรียนชาย

    เสื้อ

  • เสื้อแบบเชิ้ตแขนสั้น คอตั้ง ความยาวของแขนเสื้อเหนือข้อศอก 5 เซนติเมตร ความกว้างของแขน

พอเหมาะกับแขนของนักเรียน

  • ใช้ผ้าสีขาวเกลี้ยง (ไม่บาง หรือหนาเกินไป ห้ามใช้ผ้ามัน ผ้าด้ายดิบ ผ้าฝ้ายหรือผ้าเนื้อหยาบ

ผ่าอกตลอด มีสาบนอกที่อก ขนาดกว้าง 2.5 -3 เซนติเมตร

  • กระดุมสีขาว กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2 เซนติเมตร
  • กระเป๋าเสื้อติดแนวราวนมด้านซ้าย 1 กระเป๋า ขนาดกว้าง 8-12 เซนติเมตร และลึก 10-15

เซนติเมตร

  • ปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 8-2.0 เซนติเมตร และใต้ตัวอักษร ย.ส. ปักชื่อ–นามสกุลนักเรียน

ขนาด 1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้ม ที่อกเสื้อด้านขวาเหนือราวนม

  • นักเรียนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ (Mini English Program :

MEP )  ที่อกเสื้อด้านขวาเหนือราวนม ปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 1.8 -2.0 เซนติเมตร และใต้ตัวอักษร ย.ส.  ปักชื่อ – นามสกุลนักเรียนเป็นภาษาอังกฤษ  ขนาด 1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้ม  และที่กระเป๋าเสื้อ  ด้านซ้าย  ปักตราสัญลักษณ์โรงเรียน ขนาดสูง 1.3 – 1.5 นิ้ว และใต้ตราสัญลักษณ์โรงเรียน  ปัก MEP ขนาด  1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้ม

  • นักเรียนโครงการ การศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (Gifted Education Program) หรือ

นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ (Gifted)ที่อกเสื้อด้านขวาเหนือราวนม  ปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 1.8 – 2.0 เซนติเมตร และใต้ตัวอักษร ย.ส. ปักชื่อ – นามสกุลนักเรียนเป็นภาษาไทย ขนาด 1.7  เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้มและที่กระเป๋าเสื้อด้านซ้าย  ปักตราสัญลักษณ์โรงเรียน ขนาดสูง 1.3 – 1.5 นิ้วและใต้

ตราสัญลักษณ์โรงเรียน ปัก Gifted ขนาด 1.7  เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมน้ำเงินเข้ม

  • นักเรียนโครงการเสริมสร้างศักยภาพความเป็นเลิศทางวิชาการ (Advance Program : AP)

ที่อกเสื้อด้านขวาเหนือราวนม ปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 1.8 – 2.0 เซนติเมตร และ   ใต้ตัวอักษร ย.ส. ปักชื่อ – นามสกุลนักเรียนเป็นภาษาไทย ขนาด 1.7  เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหม   สีน้ำเงินเข้มและที่กระเป๋าเสื้อด้านซ้าย  ปักตราสัญลักษณ์โรงเรียน ขนาดสูง 1.3 – 1.5 นิ้วและ  ใต้ตราสัญลักษณ์โรงเรียน ปัก AP ขนาด 1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมน้ำเงินเข้ม

กางเกง

  • กางเกงทรงนักเรียน ขาสั้น มีหูกางเกงรอบเอว 7 หู ชนิดหูเดี่ยว เป็นผ้าและสีชนิดเดียวกันกับกางเกง

หูเป็นเส้นตรงขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร

  • ใช้ผ้าสีกากี (ไม่บางหรือหนาเกินไป ผิวไม่มันหรือด้าน ห้ามใช้ผ้ายีนส์ ผ้าเวสปอยท์ หรือผ้าเนื้อหยาบ
  • ความยาวของกางเกง สูงจากกึ่งกลางลูกสะบ้าหัวเข่า ไม่เกิน 2 นิ้ว ปลายขากางเกงพับเข้าข้างใน

กว้าง 5 เซนติเมตร ผ่าตรงส่วนหน้าโดยวิธีติดซิบซ่อนไว้ข้างใน

  • กระเป๋ากางเกง เจาะกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างละ 1 กระเป๋า มีจีบด้านหน้าข้างละ 2 จีบและจีบ

เป็นลักษณะจีบออก ไม่มีกระเป๋าหลัง

เข็มขัด

  • เข็มขัดหนังสีน้ำตาล ขนาดกว้าง 5 – 4 เซนติเมตร ตามสัดส่วนขนาดลำตัวของนักเรียน หัวเข็มขัด

เป็นโลหะสีทอง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขอบมน ชนิดหัวกลัดมีปอกหนังสีเดียวกันกับเข็มขัด ขนาดกว้าง 1.5 เซนติเมตร สำหรับสอดปลายเข็มขัด

  • ความยาวของเข็มขัด ต้องยาวไม่ต่ำกว่าหูกางเกงหูที่ 1 ปลายเข็มขัดเป็นรูปโค้งมน
  • ลักษณะผิวของเข็มขัดเป็นผิวเกลี้ยงไม่มีลวดลายหรือไม่ติด หรือไม่มีเขียนลวดลายต่างๆ ลงบน

เข็มขัด

  • ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายอนุโลมให้ใช้เข็มขัดลูกเสือได้

รองเท้า

  • รองเท้าหนัง หรือรองเท้าผ้าใบหุ้มส้น มีรูร้อยเชือกและตาไก่สีน้ำตาล ไม่มีลวดลาย
  • เมื่อสวมรองเท้าต้องผูกเชือกให้เรียบร้อย และไม่เหยียบส้นรองเท้า

ถุงเท้า

ถุงเท้าสีน้ำตาลชนิดสั้น ไม่มีสัญลักษณ์หรือลวดลายใดๆ

ทรงผม

  • นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม 

ด้านหน้าและกลางศีรษะ ให้มีความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย

  • นักเรียนชายต้องห้ามปฏิบัติตน ดังนี้
    (1)   ดัดผม
               (2)   ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม
               (3)   ไว้หนวดหรือเครา
               (4)   การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน

 

2. เครื่องแบบนักเรียนหญิง

2.1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

เสื้อ

  • ใช้ผ้าสีขาวเนื้อเรียบ (ไม่บาง หรือหนาเกินไป ห้ามใช้ผ้ามัน ผ้าด้ายดิบ ผ้าฝ้าย หรือผ้าเนื้อหยาบ)

แบบคอกลมกะลาสี แขนสั้น จีบด้านหน้าและหลัง ด้านละ 3 จีบ ขนาดของเสื้อให้พอเหมาะกับรูปร่าง ผูกด้วยผ้าผูกคอชายสามเหลี่ยม เงื่อนกะลาสี สีน้ำเงินหรือ สีเดียวกันกับกระโปรงและต้องมีเสื้อบังยกทรง หรือเสื้อคอกระเช้า สวมทับชั้นใน

  • ปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 1.8-2.0 เซนติเมตร และใต้ตัวอักษร ย.ส. ปักชื่อ –นามสกุลนักเรียน ขนาด

1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้มที่อกเสื้อด้านขวา

  • นักเรียนแผนการเรียน MEP ปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 1.8 -2.0 เซนติเมตร และใต้ตัวอักษร ย.ส.ปักชื่อนามสกุลนักเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ขนาด 1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้มที่อกเสื้อด้านขวาเหนือราวนม ปักตราสัญลักษณ์โรงเรียน ขนาดสูง 1.3 – 5 นิ้ว และใต้ตราสัญลักษณ์โรงเรียน ปัก MEP ขนาด  1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้มที่อกเสื้อด้านซ้าย
  • นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ (Gifted) ปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 1.8 – 0 เซนติเมตร และใต้

ตัวอักษร ย.ส. ปักชื่อ – นามสกุลนักเรียนเป็นภาษาไทย ขนาด 1.7  เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้มที่อกเสื้อด้านขวาเหนือราวนม ปักตราสัญลักษณ์โรงเรียน ขนาดสูง 1.3 – 1.5 นิ้ว และใต้ตราสัญลักษณ์โรงเรียน ปัก Gifted ขนาด 1.7  เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมน้ำเงินเข้มที่อกเสื้อด้านซ้าย

  • นักเรียนโครงการเสริมสร้างศักยภาพความเป็นเลิศทางวิชาการ (Advance Program : AP) ที่อกเสื้อ

ด้านขวาเหนือราวนม ปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 1.8 – 2.0 เซนติเมตร และ   ใต้ตัวอักษร ย.ส. ปักชื่อ – นามสกุลนักเรียนเป็นภาษาไทย ขนาด 1.7  เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหม   สีน้ำเงินเข้มและที่กระเป๋าเสื้อด้านซ้าย  ปักตราสัญลักษณ์โรงเรียน ขนาดสูง 1.3 – 1.5 นิ้วและ  ใต้ตราสัญลักษณ์โรงเรียน ปัก AP  ขนาด 1.7  เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมน้ำเงินเข้ม

กระโปรงใช้สีน้ำเงิน  หรือสีกรมท่าเท่านั้น แบบสุภาพ พับจีบข้างละ 3 จีบ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังความยาวกระโปรงเมื่อวัดจากใต้เข่าแล้วไม่เกิน 2 นิ้วเป็นกระโปรงปลายบานจีบลึกห้ามใช้กระโปรงปลายสอบ

รองเท้า ใช้รองเท้าหนังสีดำแบบหุ้มส้น หุ้มปลายเท้า มีสายรัดหลังเท้า ในกรณีเรียนพลศึกษา ให้ใช้รองเท้าผ้าใบหุ้มส้นสีขาว มีรูร้อยเชือก 5- 7รู ทั้งเชือกและตาไก่สีขาวไม่มีลวดลายใดๆ เมื่อสวมรองเท้า   ต้องผูกเชือกให้เรียบร้อย และไม่เหยียบส้นรองเท้า

ถุงเท้าใช้ถุงเท้ายาวสีขาว แล้วพับลงมาไว้ที่ข้อเท้า ห้ามใช้ถุงเท้าแบบสั้น

ทรงผม 

  • นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้มัดรวบผูกโบว์สีน้ำเงินไม่มีลวดลายให้เรียบร้อย
  • นักเรียนหญิงต้องห้ามปฏิบัติตน ดังนี้
    (1)   ดัดผม
               (2)   ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม
               (3)   การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน

 

 

2.2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

เสื้อ

  • ใช้ผ้าสีขาวเนื้อเรียบ (ไม่บาง หรือหนาเกินไป ห้ามใช้ผ้ามัน ผ้าด้ายดิบ ผ้าฝ้าย หรือผ้าเนื้อหยาบ)

คอเชิ้ต ผ่าอกตลอด มีสาบนอกที่อก ขนาดกว้าง 2.5 – 3เซนติเมตรแขนสั้นจีบด้านหน้าและด้านหลัง

ด้านละ 3จีบเสื้อให้พอเหมาะกับรูปร่าง และต้องมีเสื้อบังทรง หรือเสื้อคอกระเช้า สวมทับชั้นใน

  • ปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 1.8-2.0 เซนติเมตร และใต้ตัวอักษร ย.ส. ปักชื่อ –นามสกุลนักเรียน

ขนาด 1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้มที่อกเสื้อด้านขวา

  • นักเรียนแผนการเรียน MEPปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 1.8 -2.0 เซนติเมตร และใต้ตัวอักษร ย.ส.ปักชื่อ – นามสกุลนักเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ขนาด 1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้มที่อกเสื้อด้านขวาเหนือราวนม ปักตราสัญลักษณ์โรงเรียน ขนาดสูง 1.3 – 5 นิ้ว และใต้ตราสัญลักษณ์โรงเรียน ปัก MEPขนาด  1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้มที่อกเสื้อด้านซ้าย
  • นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Gifted)ปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 1.8 – 0 เซนติเมตร และใต้ตัวอักษร ย.ส. ปักชื่อ – นามสกุลนักเรียนเป็นภาษาไทย ขนาด 1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินเข้ม

ที่อกเสื้อด้านขวาเหนือราวนม ปักตราสัญลักษณ์โรงเรียน ขนาดสูง 1.3 – 1.5 นิ้ว และใต้ตราสัญลักษณ์โรงเรียน ปัก Giftedขนาด 1.7  เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมน้ำเงินเข้มที่อกเสื้อด้านซ้าย

  • นักเรียนโครงการเสริมสร้างศักยภาพความเป็นเลิศทางวิชาการ (Advance Program : AP)
    ที่อกเสื้อด้านขวาเหนือราวนม ปักตัวอักษร ย.ส. ขนาด 8 – 2.0 เซนติเมตร และ ใต้ตัวอักษร ย.ส. ปักชื่อ – นามสกุลนักเรียนเป็นภาษาไทย ขนาด 1.7  เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหม   สีน้ำเงินเข้มและที่กระเป๋าเสื้อด้านซ้าย  ปักตราสัญลักษณ์โรงเรียน ขนาดสูง 1.3 – 1.5 นิ้วและ  ใต้ตราสัญลักษณ์โรงเรียน ปัก AP  ขนาด 1.7  เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมน้ำเงินเข้ม

กระโปรง  ใช้ผ้าสีน้ำเงิน  หรือสีกรมท่าเท่านั้น แบบสุภาพ พับจีบข้างละ  3 จีบ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังความยาวของกระโปรงเมื่อวัดจากใต้เข่าแล้วไม่เกิน  2 นิ้วเป็นกระโปรงปลายบานจีบลึกห้ามใช้กระโปรงปลายสอบ

เข็มขัดใช้เข็มขัดหนังสีดำ หัวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชนิดหัวกลัด

รองเท้า  ใช้รองเท้าหนังสีดำแบบหุ้มส้น หุ้มปลายเท้า มีสายรัดหลังเท้า ในกรณีเรียนพลศึกษา ให้ใช้รองเท้าผ้าใบหุ้มส้นสีขาว มีรูร้อยเชือก 5- 7 รู  ทั้งเชือกและตาไก่สีขาว ไม่มีลวดลายใดๆ เมื่อสวมรองเท้าต้องผูกเชือกให้เรียบร้อย และไม่เหยียบส้นรองเท้า

ถุงเท้า   ใช้ถุงเท้ายาวสีขาว แล้วพับลงมาไว้ที่ข้อเท้า ห้ามใช้ถุงเท้าแบบสั้น

ทรงผม 

  • นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้มัดรวบผูกโบว์สีน้ำเงินไม่มีลวดลาย
  • นักเรียนหญิงต้องห้ามปฏิบัติตน ดังนี้
    (1)   ดัดผม

 (2)   ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม
(3)   การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน

3. เครื่องแบบพลศึกษา

เสื้อนักเรียนทุกระดับชั้นทั้งชายและหญิง ใช้เสื้อสีแดงตามที่โรงเรียนกำหนด ปักชื่อ – นามสกุล นักเรียนขนาด 1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีขาวที่อกเสื้อด้านขวา

กางเกงนักเรียนทุกระดับชั้นทั้งชายและหญิง ใช้กางเกงวอร์มสีดำขายาวไม่มีลวดลาย

รองเท้า (ชาย) ใช้รองเท้าผ้าใบหุ้มส้นสีน้ำตาล มีรูร้อยเชือก 5 -7 รู ทั้งเชือกและตาไก่สีน้ำตาลไม่มีลวดลายใดๆ เมื่อสวมรองเท้าต้องผูกเชือกให้เรียบร้อย และไม่เหยียบส้นรองเท้า

รองเท้า (หญิง) ใช้รองเท้าผ้าใบหุ้มส้นสีขาวมีรูร้อยเชือก 5-7 รู ทั้งเชือกและตาไก่สีขาวไม่มีลวดลายใดๆ เมื่อสวมรองเท้าต้องผูกเชือกให้เรียบร้อย และไม่เหยียบส้นรองเท้า

4. เครื่องแบบกิจกรรม(เครื่องแบบประจำวันศุกร์ )

นักเรียนทุกระดับชั้นทั้งชายและหญิง ใช้เสื้อตามสังกัดคณะสีที่โรงเรียนกำหนด ปักชื่อ – นามสกุล

นักเรียน ขนาด 1.7 เซนติเมตร ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงิน ที่อกเสื้อด้านขวา นักเรียนชาย ให้ใส่เสื้อสีกับกางเกงเครื่องแบบนักเรียนชาย นักเรียนหญิงให้ใส่เสื้อสี กับกระโปรงเครื่องแบบนักเรียนหญิง

ในกรณีเรียนพลศึกษาให้ใส่กับกางเกงวอร์มสีดำขายาว ไม่มีลวดลาย

5. การปักจุดเสื้อเครื่องแบบนักเรียนเพื่อแสดงระดับชั้นและคณะสี

5.1 ปักจุดกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3 เซนติเมตร

5.2 ปักจุดสี ตามสังกัดคณะสี บนปกเสื้อด้านขวา จำนวน 1 จุด ดังนี้

5.2.1) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สีชมพู

5.2.2)  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สีแสด

5.2.3)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สีเหลือง

5.2.4)  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  สีฟ้า

5.2.5)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กิจกรรมพัฒนา

ผู้เรียน (แนะแนว)  สีเขียว

    5.3  ปักจุดระดับชั้น ตามระดับชั้นที่เรียน บนปกเสื้อด้านซ้ายดังนี้

5.3.1)  ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปักด้วยจุดสีน้ำเงิน   จำนวนจุดตามระดับชั้นคือ

ม. 1 ปัก 1 จุด             ม. 2  ปัก 2 จุด            ม. 3  ปัก 3 จุด

5.3.2) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปักด้วยจุดสีแดง จำนวนจุดตามระดับชั้น คือ

ม. 4 ปัก 1 จุด             ม. 5  ปัก 2 จุด            ม. 6  ปัก 3 จุด

5.4  ในกรณีที่ปักมากกว่า 1 จุด ให้มีระยะห่างระหว่างจุด  0.5 เซนติเมตร

                   ให้ไว้  ณ  วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564

 

(นายชัชพล  รวมธรรม)

ผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตให้นักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียน

 

 

          เพื่อให้การอนุญาตให้นักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียนในเวลาราชการ มีความชัดเจน ถูกต้องและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและเยาวชน  พุทธศักราช 2546 โรงเรียนยโสธรพิทยาคม จึงกำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตให้นักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียนในเวลาราชการ ดังนี้

  • ขั้นตอนในการขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียน ผู้อนุญาตประกอบด้วย
    • ครูผู้สอน
    • ครูประจำชั้น
    • ครูผู้ปกครองกลุ่มสาระ
  • การอนุญาตให้นักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียน
    • ครูผู้สอนจะอนุญาตให้นักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียนได้เฉพาะในเวลาที่ทำการสอนในคาบ

นั้นๆ จะอนุญาตโดยทั่วไปมิได้

  • ครูประจำชั้นจะอนุญาตให้นักเรียนในประจำชั้นที่รับผิดชอบออกนอกบริเวณโรงเรียนได้

ตั้งแต่เวลา 07.00 -15.20 น. ยกเว้นในเวลาที่นักเรียนกำลังเรียนอยู่กับครูผู้สอนประจำวิชา

ในคาบนั้นๆ จะอนุญาตมิได้

  • ครูปกครองกลุ่มสาระจะอนุญาตให้นักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียนได้ก็ต่อเมื่อ
    • ครูผู้สอน ลา หรือ ไปราชการ
    • ครูประจำชั้น ลา หรือ ไปราชการ
    • นักเรียนมีเหตุรีบด่วนหรือจำเป็นไม่สามารถติดต่อกับครูประจำชั้น ครูผู้สอนได้ เช่น
  • ป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ
  • กิจธุระจำเป็นรีบด่วนอื่นๆ ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสมและไม่ขัดต่อ 1และ 2.2
  • ให้ผู้อนุญาตพิจารณาถึงความสำคัญและความจำเป็นในกิจธุระที่นักเรียนมาขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนอย่างรอบคอบ เหมาะสม เพื่อป้องกันความผิดของผู้อนุญาตและความปลอดภัยของผู้ขออนุญาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีผู้ปกครองมารับให้ผู้อนุญาตได้สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ปกครองที่จะมารับอย่างถี่ถ้วน  ควรโทรศัพท์ติดต่อกับผู้ปกครองนักเรียนที่มารับโดยตรงว่ามีความเท็จจริงอย่างไร เมื่อมีความมั่นใจแล้วจึงอนุญาตทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักเรียนได้
  • กิจธุระจำเป็นที่เห็นควรอนุญาตให้นักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียนได้
    • ป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ
    • ไปพบแพทย์ตามใบนัด (แสดงบัตรการนัดหมาย)
    • ไปไปรษณีย์ (แสดงหลักฐานการไปติดต่อ)
    • ไปธนาคาร (แสดงหลักฐานการไปติดต่อ)
    • ไปศาลากลางจังหวัด (แสดงหลักฐานการไปติดต่อ)
    • ไปสถานีตำรวจ (แสดงหลักฐานการไปติดต่อ)
    • ไปสาธารณสุขจังหวัด (แสดงหลักฐานการไปติดต่อ)
    • ไปสาธารณสุขอำเภอ (แสดงหลักฐานการไปติดต่อ)
    • ไปที่ว่าการอำเภอ (แสดงหลักฐานการไปติดต่อ)
    • ไปเทศบาลเมืองยโสธร (แสดงหลักฐานการไปติดต่อ)
    • ไปสำนักงานที่ดินจังหวัด (แสดงหลักฐานการไปติดต่อ)
    • ไปสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 (แสดงหลักฐานการไปติดต่อ)
    • ไปเอางานมาส่งครูประจำวิชา (ต้องได้รับอนุญาตจากครูผู้สอนวิชานั้นๆ เท่านั้น)
    • กลับบ้านผู้ปกครองมารับ (ตรวจสอบรายละเอียดของผู้ปกครองให้ถี่ถ้วน)
    • อื่นๆ ที่ผู้อนุญาตพิจารณาเห็นสมควรอนุญาต
  • นักเรียนที่ขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนต้องปฏิบัติ ดังนี้
    • ขอใบอนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียน ที่ครูปกครองกลุ่มสาระฯ มากรอกรายละเอียดให้

ครบถ้วน

  • ดำเนินการขออนุญาตตามข้อ 1 ,2.2 ,และ 2.3
  • แสดงใบขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนพร้อมบัตรประจำตัวนักเรียนกับครูเวรที่ป้อม

ยามโดยปฏิบัติตามขั้นตอนการขอออกนอกบริเวณโรงเรียนที่โรงเรียนกำหนด

  • เมื่อปฏิบัติกิจธุระเสร็จแล้ว กลับเข้ามาภายในบริเวณโรงเรียน ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการขอ

ออกนอกบริเวณโรงเรียนที่โรงเรียนกำหนด

  • ต้องไปแจ้งให้ครูผู้อนุญาตให้ทราบว่าได้ไปปฏิบัติกิจธุระตามที่ขออนุญาตเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  • ถ้าปฏิบัติกิจธุระเสร็จแล้วไม่กลับเข้ามาภายในบริเวณโรงเรียนตามเวลาที่กำหนดต้องถูกหัก

คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ครั้งละ 50 คะแนน ยกเว้นกรณีผู้ปกครองมารับกลับบ้าน หรือเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือ เหตุสุดวิสัยอื่นๆ จะต้องแจ้งให้ครูผู้อนุญาตทราบ

ให้ไว้  ณ  วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

 

 (นายชัชพล  รวมธรรม)

 ผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

[youtube:https://www.youtube.com/watch?v=l2HeUXoDbc0]