S 7012598

กลุ่มบริหารวิชาการ

หลักสูตรโรงเรียนยโสธรพิทยาคม ปีการศึกษา 2564

 

          ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนยโสธรพิทยาคม มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 และ พ.ศ.2564)  โดยมีการจัดโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World – Class Standard school) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP) และโครงการห้องเรียนพิเศษ AP (Advance Program)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564)

วิสัยทัศน์

          หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564)มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน  ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย  ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก  ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีความรู้และทักษะพื้นฐาน  รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

จุดหมาย

          หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา  มีความสุขมีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ  จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน  เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ดังนี้

  • มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์  เห็นค่านิยมที่พึงประสงค์  เห็นคุณค่าของตนเอง  มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา  หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด  การแก้ปัญหา  การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
  • มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
  • มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม  และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

          หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้  ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ  ดังนี้

          1.  ความสามารถในการสื่อสาร                        2.  ความสามารถในการคิด

          3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา                     4.  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

          5.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

          หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ดังนี้

          1.  รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์        2.  ซื่อสัตย์สุจริต          3.  มีวินัย

          4.  ใฝ่เรียนรู้                         5.  อยู่อย่างพอเพียง       6.  มุ่งมั่นในการทำงาน

          7.  รักความเป็นไทย                8.  มีจิตสาธารณะ

 

มาตรฐานการเรียนรู้

          การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล  ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้  8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  ดังนี้

          1.  ภาษาไทย                                 2.  คณิตศาสตร์

          3.  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี              4.  สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

          5.  สุขศึกษาและพลศึกษา                    6.  ศิลปะ

          7.  การงานอาชีพ                            8.  ภาษาต่างประเทศ

 

สาระการเรียนรู้

          สาระการเรียนรู้  ประกอบด้วย  องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้  โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  ดังนี้

  • ภาษาไทย : ความรู้ ทักษะและวัฒนธรรมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร  ความชื่นชม  การเห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทยและภูมิใจในภาษาประจำชาติ
  • คณิตศาสตร์ : การนำความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตและศึกษาต่อ การมีเหตุมีผล  มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์  พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : การนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล  คิดวิเคราะห์  คิดสร้างสรรค์และจิตวิทยาศาสตร์
  • สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม: การอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข การเป็นพลเมืองดี ศรัทธาในหลักธรรมของศาสนา การเห็นคุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความรักชาติและภูมิใจในความเป็นไทย
  • สุขศึกษาและพลศึกษา : ความรู้ ทักษะและเจตคติในการสร้างเสริมสุขภาพพลานามัยของตนเองและผู้อื่น การป้องกันและปฏิบัติต่อสิ่งต่าง ๆที่มีผลต่อสุขภาพอย่างถูกวิธีและทักษะในการดำเนินชีวิต
  • ศิลปะ: ความรู้และทักษะในการคิดริเริ่ม จินตนาการ สร้างสรรค์งานศิลปะ  สุนทรียภาพและการเห็นคุณค่าทางศิลปะ
  • การงานอาชีพ: ความรู้ ทักษะ และเจตคติในการทำงาน  การจัดการ  การดำรงชีวิต  การประกอบอาชีพ
  • ภาษาต่างประเทศ: ความรู้ ทักษะ เจตคติ  และวัฒนธรรมการใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร  การแสวงหาความรู้และการประกอบอาชีพ

 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

          กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ  พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ทั้งร่างกาย  สติปัญญา  อารมณ์และสังคม  เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม  จริยธรรม มีระเบียบวินัย  ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม  สามารถจัดการตนเองได้และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข  ซึ่งแบ่งเป็น 3  ลักษณะ  ดังนี้

  • กิจกรรมแนะแนว
  • กิจกรรมนักเรียน
    • กิจกรรมบังคับ ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร
    • กิจกรรมเสริมสาระ
  • กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

 

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

          โดยที่โรงเรียนยโสธรพิทยาคมได้ประกาศใช้หลักสูตรโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ 293/2551 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงเป็นการสมควรที่กำหนดระเบียบโรงเรียนยโสธรพิทยาคมว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ประจำปีการศึกษา 2558 เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับคำสั่งดังกล่าว

          ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

          ข้อ 1ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนยโสธรพิทยาคมว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)ประจำปีการศึกษา2563”

          ข้อ 2  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป

          ข้อ 3  ให้ยกเลิกระเบียบ ข้อบังคับที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

          ข้อ 4  ระเบียบนี้ให้ใช้ควบคู่กับหลักสูตรโรงเรียนยโสธรพิทยาคม พ.ศ.2561ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)

          ข้อ 5  ให้ผู้อำนวยการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

หมวด 1  หลักการดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียน

ข้อ 6  การประเมินผลการเรียน ให้เป็นไปตามหลักการดำเนินการต่อไปนี้

  • โรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
  • การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัดสินผลการเรียน
  • การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และมีการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีวิธีการประเมินที่หลากหลาย เพื่อสามารถประเมินผลการเรียนรู้ได้อย่างรอบด้านทั้งด้านความรู้ ความคิด กระบวนการ พฤติกรรมและเจตคติ เหมาะกับสิ่งที่ต้องการวัดตามธรรมชาติวิชา  และระดับชั้นของผู้เรียน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเที่ยงตรง ยุติธรรม และเชื่อถือได้
  • การประเมินผู้เรียนพิจาณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติกรรม การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรม และการทดสอบ ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ
  • เปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้
  • ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและระหว่างรูปแบบการศึกษาต่างๆ
  • โรงเรียนจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผลการเรียนรู้ รายงานผลการเรียน แสดงวุฒิการศึกษา และรับรองผลการเรียนของผู้เรียน

หมวด 2  วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ข้อ 7  โรงเรียนดำเนินการวัดและประเมินผลครบองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ การอ่าน คิด วิเคราะห์  และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

7.1  การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เป็นการประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ทักษะการคิด ที่กำหนดอยู่ในตัวชี้วัดในหลักสูตร ซึ่งจะนำไปสู่การสรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้

7.1.1  แจ้งให้ผู้เรียนทราบมาตรฐาน/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผล เกณฑ์การผ่านตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และเกณฑ์การวัดและประเมินผลในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้รายปี/ภาค

7.1.2  แจ้งให้นักเรียนทราบผลการเรียนรู้แต่ละกิจกรรม เกณฑ์การตัดสินพฤติกรรมปฏิบัติกิจกรรม และเวลาเรียน/เข้าร่วมกิจกรรม ในการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

7.1.3  แจ้งให้ผู้เรียนทราบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และเกณฑ์การตัดสิน

7.1.4  แจ้งให้ผู้เรียนทราบเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

7.1.5  ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องวัดและประเมินผลก่อนเรียนเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานและทักษะเบื้องต้นของผู้เรียน

7.1.6  ระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนว่าบรรลุตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด /ผลการเรียนรู้ ตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้หากผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ให้ผู้สอนวินิจฉัยหาข้อบกพร่องของผู้เรียนแล้วสอนซ่อมเสริม โดยจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

7.2  การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของผู้เรียน ให้ครูประจำวิชา ดำเนินการวัดผลตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้

7.2.1  ให้ผลการเรียนเป็น ไม่ผ่าน   ผ่าน ดี และ ดีเยี่ยม

7.2.2ตัดสินเมื่อสิ้นปีการศึกษา

7.3  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ให้ครูผู้สอนดำเนินการวัดผลไปพร้อมกับการประเมินผลระดับชั้นเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้

7.3.1ให้ผลการเรียน  ไม่ผ่าน   ผ่าน   ดี และ ดีเยี่ยม

7.3.2 ตัดสินเมื่อสิ้นปีการศึกษา

7.4  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนประเมินเป็นภาคเรียน โรงเรียนกำหนดแนวทางการประเมินให้ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมดำเนินการประเมินตามจุดประสงค์  ดังนี้

7.4.1ให้ผลการเรียนเป็น ผ่าน  ไม่ผ่าน

7.4.2ตัดสินเมื่อสิ้นภาคเรียน

7.4.3การผ่าน ไม่ผ่าน พิจารณาจาก

7.4.3.1เวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ  80

7.4.3.2 มีผลการปฏิบัติกิจกรรมและผลงานชิ้นงานอยู่ในระดับดี

7.4.4เกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมี   2  ระดับ  คือ

 “ผ” หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ80 ของเวลาเรียนทั้งหมด  ปฏิบัติกิจกรรมและมีผลงานอยู่ในระดับดี

 “มผ”  หมายถึง  ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนน้อยกว่าร้อยละ 80  ของเวลาเรียนทั้งหมด  ปฏิบัติกิจกรรมและมีผลงาน ชิ้นงาน ต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด

หมวด 3 เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

 

ข้อ 8  การตัดสินผลการเรียน      

                 แนวปฏิบัติในการเลื่อนชั้นเรียน ให้ยึดแนวปฏิบัติดังนี้

          ระดับมัธยมศึกษา

        (1)  ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด

        (2)  ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตัวชี้วัดทุกตัว

        (3)  ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา

             (4)  ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านในระดับ “ดีเยี่ยม”“ดี” หรือ “ผ่าน” ในการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และได้ “ผ่าน” ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

แนวปฏิบัติในการซ้ำชั้นเรียนให้ยึดแนวปฏิบัติดังนี้

              ผู้เรียนที่ไม่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การอนุมัติเลื่อนชั้นเรียน สถานศึกษาจะต้องจัดให้เรียนซ้ำชั้น 

             ในกรณีที่ผู้เรียนขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง สถานศึกษาอาจใช้ดุลยพินิจให้เลื่อนชั้นได้ 

หากพิจารณาเห็นว่า

             (1)  ผู้เรียนมีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80อันเนื่องจากสาเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัย แต่มีคุณสมบัติตามข้ออื่น ๆ ครบถ้วน

             (2)  ผู้เรียนผ่านมาตรฐานและตัวชี้วัดไม่ถึงเกณฑ์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงเล็กน้อย และเห็นว่าสามารถสอนซ่อมเสริมได้ในปีการศึกษาถัดไป และมีคุณสมบัติข้ออื่น ๆครบถ้วน

          เกณฑ์การจบการศึกษาได้จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 66 หน่วยกิต ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิต ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 66 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 11 หน่วยกิต
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้เรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 41 หน่วยกิต ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิต ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 41 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
  • ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินรายวิชาพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ “1” เป็นอย่างน้อย
  • ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับ“ดีเยี่ยม”“ ดี”หรือ“ผ่าน”
  • ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับ “ ดีเยี่ยม”“ ดี ”หรือ “ผ่าน”
  • ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินในระดับ “ผ่าน” ทุกกิจกรรม

ข้อ 9การให้ระดับผลการเรียน

9.1  การตัดสินผลการเรียนรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ใช้ระบบตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนในแต่ละกลุ่มสาระ  (8 ระดับ) ดังนี้

ระดับผลการเรียน

ความหมาย

ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ

4

ดีเยี่ยม

80 – 100

3.5

ดีมาก

75 – 79

3

ดี

70 – 74

2.5

ค่อนข้างดี

65 – 69

2

น่าพอใจ

60 – 64

1.5

พอใช้

55 – 59

1

ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ

50 – 54

0

ต่ำกว่าเกณฑ์

0 – 49

9.2การกำหนดสัดส่วนคะแนน ระหว่างเรียน กับ สอบปลายภาค เป็นดังนี้

กลุ่มสาระ

ระหว่างเรียน

ปลายปี / ปลายภาค

1. ภาษาไทย

70

30

2. คณิตศาสตร์

70

30

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

70

30

4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

70

30

5. ภาษาต่างประเทศ

70

30

6. สุขศึกษาและพลศึกษา

80

20

7. ศิลปะ

80

20

8. การงานอาชีพ

80

20

          9.3การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นผ่านและไม่ผ่าน ถ้ากรณีที่ผ่าน กำหนดเกณฑ์การตัดสินเป็นดีเยี่ยม ดี และผ่าน

                 ดีเยี่ยมหมายถึง  มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน  ที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ

                 ดี  หมายถึง  มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่

มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ

                      ผ่านหมายถึง   มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีมีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน  ที่มีข้อบกพร่องบางประการ

                 ไม่ผ่านหมายถึง  มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่ไม่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน หรือถ้ามีผลงาน ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ

            9.4  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมทุกคุณลักษณะเพื่อการเลื่อนชั้น และจบการศึกษา เป็นผ่านและไม่ผ่าน ในการผ่านกำหนดเกณฑ์การตัดสินเป็นดีเยี่ยม ดี และผ่าน และความหมายของแต่ละระดับ ดังนี้

                 ดีเยี่ยมหมายถึง ผู้เรียนปฏิบัติตนตามคุณลักษณะจนเป็นนิสัย และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม โดยพิจารณาจากผู้เรียนปฏิบัติตนตามคุณลักษณะจนเป็นนิสัย และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม โดยพิจารณาจากผลการประเมินระดับดีเยี่ยม  จำนวน 5 – 8 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับดี

                 ดี หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้เป็นการยอมรับของสังคม โดยพิจารณาจากผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้เป็นการยอมรับของสังคม โดยพิจารณาจาก

  • ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จำนวน 1 – 4 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับดี หรือ
  • ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จำนวน 4 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ
  • ได้ผลการประเมินระดับดี จำนวน 5 – 8 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน

                 ผ่านหมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถานศึกษากำหนด โดยพิจารณาจากผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถานศึกษากำหนดโดยพิจารณาจาก

                     1. ได้ผลการประเมินระดับผ่าน จำนวน 5 – 8คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ

                     2. ได้ผลการประเมินระดับดี จำนวน 4 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน

                 ไม่ผ่านหมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติได้ไม่ครบตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด โดยพิจารณาจากผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติได้ไม่ครบตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถานศึกษากำหนด โดยพิจารณาจากผลการประเมินระดับไม่ผ่าน ตั้งแต่ 1 คุณลักษณะ

9.5  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                 จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรมการปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน ชิ้นงาน ของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดและให้ผลการประเมินเป็นผ่าน และไม่ผ่าน

        “” หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด ปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงาน ชิ้นงาน อยู่ในระดับดี

        “มผ” หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนน้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด ปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงาน ชิ้นงาน อยู่ในระดับปรับปรุง

                 ในกรณีที่ผู้เรียนได้  “มผ”  ครูผู้ดูแลกิจกรรมต้องจัดซ่อมเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมในส่วนที่ผู้เรียนไม่ได้เข้าร่วมหรือไม่ได้ทำจนครบถ้วน แล้วจึงเปลี่ยนผลการเรียนจาก “มผ” เป็น “” ได้ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษา (ที่มีผลการเรียน มผ) ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย

ข้อ  10  การเลื่อนชั้น

10.1  ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียน/ปีการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด

10.2 ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกมาตรฐานตัวชี้วัดและผ่านตัวชี้วัดทุกตัวในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

10.3ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชาและมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1.00

10.4  ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในการประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

          อนึ่ง หากผลการประเมินผู้เรียนไม่เป็นไปตามที่กำหนด หรือขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง และเป็นเหตุผลที่ได้รับการยกเว้นตามที่สถานศึกษากำหนด รวมทั้งมีข้อบกพร่องไม่มากนัก ซึ่งครูผู้สอนสามารถทำการซ่อมเสริมได้ ให้ผู้เรียนมีโอกาสในการซ่อมเสริม เพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด

          สำหรับผู้เรียนที่มีสติปัญญาและความสามารถเป็นเลิศ สถานศึกษาอาจพิจารณาให้มีการเลื่อนชั้นเรียนระหว่างปีได้ โดยสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการเรียน ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการโรงเรียน ผู้แทนจากต้นสังกัด เพื่อพิจารณาตามเงื่อนไขดังนี้

                 1) มีผลการเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมาและผลการเรียนในปีการศึกษาปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม

                 2) มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมและสามารถเรียนในชั้นสูงขึ้นได้

                 3) ผ่านการประเมินตัวชี้วัดทั้งหมดในปีปัจจุบัน และภาคเรียนที่ 1 ของชั้นเรียนที่สูงขึ้น

          ในการเลื่อนชั้นเรียนสูงขึ้นระหว่างปี ให้เป็นไปตามความยินยอมของผู้เรียนและผู้ปกครองและต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนของปี

           

 

ข้อ  11  การสอนซ่อมเสริม

  • ผู้เรียนมีความรู้/ทักษะพื้นฐานไม่เพียงพอที่จะศึกษาในแต่ละรายวิชานั้น ควรจัดการสอนซ่อมเสริม ปรับความรู้/ทักษะพื้นฐาน
  • การประเมินระหว่างเรียนผู้เรียนไม่สามารถแสดงความรู้ ทักษะกระบวนการ หรือเจตคติ/คุณลักษณะ  ที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด 
  • ผลการเรียนไม่ถึงเกณฑ์ และ/หรือต่ำกว่าเกณฑ์การประเมิน โดยผู้เรียนได้ระดับผลการเรียน “0” ต้องจัดการซ่อมสอนเสริมก่อนจะให้ผู้เรียนสอบแก้ตัว
  • ผู้เรียนมีผลการเรียนไม่ผ่าน สามารถจัดสอนซ่อมเสริมในภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา

          แนวการเปลี่ยนผลการเรียน “0”ดำเนินการได้ดังนี้

          ผลการประเมิน “0” โรงเรียนจัดให้มีการสอนซ่อมเสริมในตัวชี้วัดที่ผู้เรียนสอบไม่ผ่านก่อน แล้วจึงสอบแก้ตัวให้ และให้สอบแก้ตัวได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ทั้งนี้ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น 

          ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการสอบแก้ตัวตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของโรงเรียนที่จะพิจารณาขยายเวลาออกไปอีกไม่เกิน 1 ภาคเรียนทั้งนี้ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น 

          ถ้าสอบแก้ตัว 2 ครั้งแล้ว ยังได้ระดับผลการเรียน “0” อีก ให้โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ผลการเรียนของผู้เรียนโดยปฏิบัติดังนี้

  • ถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐาน ให้เรียนซ้ำรายวิชา
  • ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ให้เรียนซ้ำหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจของโรงเรียน

             ในกรณีที่เปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ให้หมายเหตุในระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) ว่าให้เรียนแทนรายวิชาใด

แนวการแก้ไข “ มผ”

          ในกรณีที่ผู้เรียนได้ผลการเรียน “ มผ ” โรงเรียนต้องจัดซ่อมเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมจนครบตามเวลาที่กำหนด หรือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ต้องปรับปรุง แก้ไข แล้วจึงเปลี่ยนผลการเรียนจาก “มผ” เป็น “” ทั้งนี้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย  ให้อยู่ในดุลยพินิจของโรงเรียน

ข้อ 12การเรียนซ้ำชั้น

              ผู้เรียนที่ไม่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การเลื่อนชั้น (มีผลการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่า 1.00 และมีผลการเรียน0 ร มส มผ จำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น) จะต้องเรียนซ้ำชั้น  แต่ทั้งนี้อาจ ได้รับการพิจารณาให้เลื่อนชั้นได้ หากผู้เรียนมาดำเนินการแก้ไขผลการเรียนที่มีปัญหาให้ได้เกรดเฉลี่ยเท่ากันหรือมากกว่า 1.00 ภายในระยะเวลาที่กำหนด และทำข้อตกลงกับทางโรงเรียนโดยผู้ปกครองและให้เหลือผลการเรียนที่มีปัญหาจำนวนวิชาน้อยที่สุด

ข้อ 13  เกณฑ์การจบ

          ระดับมัธยมศึกษา

                 1.  มีเวลาเรียนครบตามที่หลักสูตรโรงเรียนกำหนดและสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง

                 2.  ทุกรายวิชาพื้นฐานมีผลการประเมินผ่าน สำหรับรายวิชาเพิ่มเติมเป็นไปตามที่โรงเรียนกำหนด

                 3.  มีผลการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน ในระดับผ่าน

                 4.  มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับผ่าน

                 5.  มีผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในระดับผ่านทุกกิจกรรม และปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์60 ชั่วโมง

หมวด  4 การรายงานผลการเรียน

         

          ข้อ 14  การรายงานผลการเรียนเป็นเอกสารบันทึกข้อมูลการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนแต่ละคน ตามเกณฑ์การผ่านชั้นเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งข้อมูลด้านอื่น ๆ  ของผู้เรียนทั้งที่บ้านและโรงเรียน โดยจัดทำเป็นเอกสารรายบุคคล เพื่อใช้สำหรับสื่อสารให้ผู้ปกครองของผู้เรียนแต่ละคนได้รับทราบผลการเรียนและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคลนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้

             1) รายงานผลการเรียน ความประพฤติและพัฒนาการของผู้เรียนให้ผู้ปกครองได้รับทราบ

             2) ใช้เป็นเอกสารสื่อสาร ประสานงานเพื่อร่วมมือในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขผู้เรียน

             3) เป็นเอกสารหลักฐานสำหรับตรวจสอบ ยืนยัน และรับรองผลการเรียนและพัฒนาการต่าง ๆ ของผู้เรียน

          หมวด 5 เอกสารหลักฐานการศึกษา

ข้อ 15  ให้มีการจัดหาและจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาดังต่อไปนี้

  • เอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ประกอบด้วย

โรงเรียนออก ปพ.1: บ ให้นักเรียนเมื่อ

                         1)  ระเบียบแสดงผลการเรียน(Transcript)(ปพ.1)เป็นเอกสารหลักฐานแสดงผลการเรียนของผู้เรียนสำหรับบันทึกข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนตามเกณฑ์การผ่านระดับชั้นของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้  8 กลุ่มสาระ ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา และผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนจะต้องจัดทำและออกเอกสารนี้ให้กับผู้เรียนเป็นรายบุคคล เมื่อจบหรือไม่จบการศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ ดังนี้

      - แสดงผลการเรียนของนักเรียนตามโครงการสร้างหลักสูตรของโรงเรียน

      - รับรองผลการเรียนของนักเรียนตามข้อมูลที่บันทึกในเอกสาร

      - ตรวจสอบผลการเรียนและวุฒิการศึกษาของนักเรียน

                         - ใช้เป็นหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาเพื่อสมัครเข้าศึกษาต่อ สมัครงานหรือขอรับสิทธิประโยชน์อื่นใดที่พึงมีพึงได้ตามวุฒิการศึกษานั้น

                         - และมอบให้กับนักเรียนในทุกกรณีที่นักเรียนออกจากโรงเรียน เช่น จบการศึกษา  ลาออก  ย้ายที่เรียน เป็นต้น

                      2)  หลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา(ใบประกาศนียบัตร) (ปพ.2)เป็นเอกสารที่สถานศึกษาออกให้กับผู้สำเร็จการศึกษาและรับรองวุฒิการศึกษาของผู้เรียน ให้ผู้เรียนนำไปใช้เป็นหลักฐานแสดงระดับวุฒิการศึกษาของตน

                     3)  แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา  (ปพ.3)

                         เป็นเอกสารอนุมัติการจบหลักสูตรการเรียนของนักเรียนที่ผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นเอกสารทางการศึกษาที่สำคัญที่สุด  ใช้เป็นหลักฐานแสดงคุณสมบัติหรือคุณวุฒิทางการศึกษาของผู้เรียน ผู้มีรายชื่อในเอกสารนี้ทุกคน จะได้รับการรับรองวุฒิทางการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ เอกสารที่จัดทำขึ้นแล้ว โรงเรียนจะต้องเก็บรักษาไว้ให้ปลอดภัยระวังมิให้เอกสารชำรุด เสียหาย สูญหายหรือข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้เป็นอันขาด แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนจัดทำเพียงชุดเดียวแล้วเก็บรักษาไว้ที่โรงเรียน  ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์  ดังนี้

                         - ผู้บริหารโรงเรียน  ใช้ตัดสินและอนุมัติผลการเรียนของนักเรียน

                         - แสดงรายชื่อผู้จบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละชั้นที่ได้รับการรับรองวุฒิจากกระทรวงศึกษาธิการ

                         - หน่วยงานที่เก็บรักษาเอกสารใช้สำหรับตรวจสอบ  ค้นหา  พิสูจน์  ยืนยัน  และรับรองวุฒิหรือผลการเรียนของผู้จบหลักสูตร

หมายเหตุเอกสารการจบหลักสูตรทุกฉบับ จะมอบให้ทุกคนที่ไม่ติดภาระและเงื่อนไขทางกลุ่มงบประมาณ และห้องสมุด

                 15.2  เอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด

                      โรงเรียนจัดทำขึ้น เพื่อใช้บันทึกข้อมูลของนักเรียนในด้านต่าง ๆ สำหรับใช้ประกอบการดำเนินงานจัดการศึกษา การประเมินและตัดสินผลการเรียน การออกแบบ จัดทำแบบพิมพ์ และควบคุมการจัดทำและการใช้เอกสารโรงเรียนจัดทำเอง สำหรับรูปแบบและแนวดำเนินการจัดทำให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษา และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามที่โรงเรียนกำหนด  ดังนี้

                     1) แบบสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

                         เป็นเอกสารสรุปผลการประเมินและตัดสินผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนแต่ละคนในแต่ละชั้นเรียน และมอบให้นักเรียนทุกคนเมื่อจบระดับชั้นเรียน หรือจบหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ  หรือจบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบสรุปผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์  นำไปใช้ประโยชน์ แสดงผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์หรือรับรองคุณลักษณะของผู้เรียน โดยใช้ควบคู่กับระเบียบแสดงผลการเรียน (ปพ.1)

  2) เอกสารบันทึกการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 

                         เป็นเอกสารให้ครูผู้สอนใช้บันทึกข้อมูลเวลาเรียนของผู้เรียน บันทึกการวัดและ

การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาตัดสินผลการเรียนแต่ละรายวิชา  บันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เอกสารบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้

                         - ใช้เป็นเอกสารประกอบการดำเนินงานในการวัดและประเมินผลการเรียนของผู้เรียน

                         - ใช้เป็นหลักฐานสำหรับตรวจสอบ รายงาน และรับรองข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการและกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

                     3)  แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล

                         เป็นเอกสารบันทึกข้อมูลการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนแต่ละคน ตามเกณฑ์การผ่านชั้นเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งข้อมูลด้านอื่น ๆ ของผู้เรียนทั้งที่บ้านและโรงเรียน โดยจัดทำเป็นเอกสารรายบุคคล เพื่อใช้สำหรับสื่อสารให้ผู้ปกครองของผู้เรียนแต่ละคนได้รับทราบผลการเรียนและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคลนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้

                     - รายงานผลการเรียน ความประพฤติและพัฒนาการของผู้เรียนให้ผู้ปกครองได้รับทราบ

                     - ใช้เป็นเอกสารสื่อสาร ประสานงานเพื่อร่วมมือในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขผู้เรียน

                     - เป็นเอกสารหลักฐานสำหรับตรวจสอบ ยืนยัน และรับรองผลการเรียนและพัฒนาการต่าง ๆ ของผู้เรียน

                     4)  ใบรับรองผลการศึกษา

                         เป็นเอกสารใช้สำหรับรับรองสถานภาพนักเรียนหรือผลการเรียนของผู้เรียนเป็นการชั่วคราวตามที่ผู้เรียนร้องขอ  ทั้งกรณีที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนและเมื่อจบการศึกษาไปแล้ว  ใบรับรองผลการเรียน นำไปใช้ประโยชน์  ดั้งนี้

                         - รับรองความเป็นผู้เรียนของโรงเรียนที่เรียนหรือเคยเรียน

                         - รับรองและแสดงความรู้ วุฒิของผู้เรียน

                         - ใช้เป็นหลักฐานแสดงคุณสมบัติของผู้เรียนในการสมัครเข้าศึกษาต่อ สมัครเข้าทำงาน  หรือเมื่อมีกรณีอื่นใดที่ผู้เรียนต้องแสดงคุณสมบัติเกี่ยวกับวุฒิความรู้ หรือสภาพการเป็นผู้เรียนของตน

                         - เป็นหลักฐานสำหรับการตรวจสอบ รับรอง ยืนยันการใช้สิทธิ์ความเป็นนักเรียนหรือการได้รับการรับรองจากโรงเรียน

                     5)  ระเบียนสะสม

                         เป็นเอกสารบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เป็นรายบุคคล  โดยจะบันทึกข้อมูลของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ตลอดช่วงระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน12 ปีระเบียนสะสม ไปใช้ประโยชน์  ดังนี้

                         - ใช้เป็นข้อมูลในการแนะแนวทางการศึกษาและการประกอบอาชีพของผู้เรียน

                         - ใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงบุคลิกภาพ ผลการเรียนและการปรับตัวของผู้เรียน

                         - ใช้ติดต่อสื่อสาร รายงานพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง

                         - ใช้เป็นหลักฐานสำหรับการตรวจสอบ รับรอง และยืนยันคุณสมบัติของผู้เรียน

หมวด 6 การเทียบโอนผลการเรียน

          ข้อ 16ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้จากสถานศึกษาได้ในกรณีต่างๆ ได้แก่  การย้ายสถานศึกษาการเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาการย้ายหลักสูตรการออกกลางคันและการขอกลับเข้ารับการศึกษาต่อการศึกษาจากต่างประเทศและขอเข้าศึกษาต่อในประเทศ

          ข้อ 17ให้สามารถเทียบโอนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ  เช่นสถานประกอบการสถาบันทางศาสนาสถาบันการฝึกอบรมอาชีพการจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นต้น

ข้อ 18การเทียบโอนผลการเรียนให้ดำเนินการในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนหรือต้นภาคเรียนที่สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนเป็นผู้เรียนทั้งนี้ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอนผลการเรียนต้องศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อย1ภาคเรียนโดยสถานศึกษาที่รับการเทียบโอนควรกำหนดรายวิชาจำนวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม

ข้อ 19การพิจารณาการเทียบโอน สามารถดำเนินการได้ดังนี้

19.1  พิจารณาจากหลักฐานการศึกษา และเอกสารอื่นๆที่ให้ข้อมูลแสดงความรู้ความสามารถของผู้เรียน

19.2   พิจารณาจากความรู้ ประสบการณ์ตรงจากความรู้ความสามารถของผู้เรียนโดยการทดสอบด้วยวิธีการต่างๆทั้งภาคความรู้และภาคปฏิบัติ

19.3   พิจารณาจากความสามารถ และการปฏิบัติจริง

19.4   ในกรณีมีเหตุผลจำเป็นระหว่างเรียน 

          ข้อ 20การเทียบโอนผลการเรียนให้ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการการเทียบโอนจำนวนไม่น้อยกว่า3คนแต่ไม่ควรเกิน 5คนการเทียบโอนให้ดำเนินการดังนี้

20.1 กรณีผู้ขอเทียบโอนมีผลการเรียนมาจากหลักสูตรอื่น ให้นำรายวิชาหรือหน่วยกิตที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้/จุดประสงค์/เนื้อหาที่สอดคล้องกันไม่น้อยกว่าร้อยละ60มาเทียบโอนผลการเรียนและพิจารณาให้ระดับผลการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่รับเทียบโอน

20.2 กรณีการเทียบโอนความรู้ ทักษะและประสบการณ์  ให้พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน (ถ้ามี) โดยให้มีการประเมินด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและให้ระดับผลการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่รับเทียบโอน

20.3  กรณีการเทียบโอนที่นักเรียนเข้าโครงการแลกเปลี่ยนต่างประเทศให้ดำเนินการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องหลักการและแนวปฏิบัติการเทียบชั้นการศึกษาสำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน

ทั้งนี้วิธีการเทียบโอนผลการเรียนให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางการเทียบโอนผลการเรียนตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการเทียบโอนผลการเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาประกาศณวันที่10ตุลาคมพ.ศ. 2540และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการเทียบโอนผลการเรียนเข้าสู่การศึกษาในระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สิงหาคม2549)

บทเฉพาะกาล

ข้อ 21 ในกรณีนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซึ่งควรจะจบหลักสูตรในปีการศึกษา 2553หรือก่อนปีการศึกษา 2553แต่ไม่สามารถจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  ตามกำหนดได้   ให้ใช้ระเบียบฉบับนี้

การพิจารณาเลื่อนชั้น  ผู้เรียนที่ไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น  ให้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้  ทั้งนี้ให้คำนึงถึงวุฒิภาวะแลความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  แบ่งออกเป็น 4 ระดับ  ได้แก่ 

1.  การประเมินระดับชั้นเรียน                         2.  การประเมินระดับสถานศึกษา

3.  การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา             4.  การประเมินระดับชาติ

โรงเรียนมาตรฐานสากล

World-Class Standard School

 

          โรงเรียนมาตรฐานสากล คือ โรงเรียนที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา/ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการจัดการด้วยระบบคุณภาพ  เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นมาตรฐานสากล

          การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนยโสธรพิทยาคม  เป็นการพัฒนาหลักสูตรตามหลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)ข้อ 3  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สนองนโยบายการกระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น  และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่างๆ ของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ  เป็นการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศที่สถานศึกษาเน้นและมีความเป็นสากล

          การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ  หลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานการเรียนรู้  สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน  เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลโลกที่ดีมีคุณภาพ  มีความเป็นเลิศทางวิชาการ  สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา  ล้ำหน้าทางความคิด  ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์  และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก

 

          แนวทางการพัฒนาหลักสูตร

  • โรงเรียนมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยยึดหลักการและแนวคิดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาทุกประการ คือ  ให้ผู้เรียนได้เรียนกลุ่มสาระพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระ  เรียนสาระเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • โรงเรียนจัดให้มีการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติม “การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS : Independent Study)” ซึ่งประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ 3 สาระ ดังนี้

2.1การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1 : Research and Knowledge Formation)

2.2 การสื่อสารและการนำเสนอ (IS2 : Communication and Presentation)

2.3 การนำความรู้ไปใช้บริการสังคม (IS3 : Global Education and Social Service)

และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศภาษาที่ 2อีกหนึ่งภาษาสำหรับมัธยมศึกษาตอนปลายการจัดการเรียนการสอน  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS : Independent Study) จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม 2รายวิชา  คือ การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1 : Research and Knowledge Formation)และการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2 : Communication and Presentation) โดยแต่ละรายวิชามีจำนวนหน่วยกิต 1.0 หน่วยกิตภายในเวลา 3 ปี  ส่วน IS3 การนำความรู้ไปใช้บริการสังคม (IS3 : Global Education and Social Service) จัดในกิจกรรมเสริมสาระจำนวน 0.5  หน่วยกิต

  • โรงเรียนปรับเปลี่ยนวิธีการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานนำเสนอผลงานทั้งเป็นเอกสารและปากเปล่า (Oral Presentation)

          การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  แบ่งออกเป็น 4 ระดับ

  • การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอ  ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลาย 
  • การประเมินระดับสถานศึกษาเป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายภาค/รายปี ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์  และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่  ผู้เรียนมีจุดพัฒนาในด้านใด และนำผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติ  สู่การปรับปรุงนโยบาย  หลักสูตร โครงการ  หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน  และเพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาและการรายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครองและชุมชน

          โรงเรียนสนับสนุนการประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนของผู้เรียนร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานอื่นๆ  เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายสำหรับการวัดและประเมินผลเพื่อเทียบเคียงมาตรฐานในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  ดังนี้

          - กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  :  สถาบันภาษาไทย

          - กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  :  สำนักทดสอบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          - กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  :  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย 

          - กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  :  สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย

          - กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  :  มหาวิทยาลัยมหิดล  และสำนักทดสอบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          - กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  :  สำนักทดสอบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          - กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  :  สำนักทดสอบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          - กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  :  British Council , Delft Solaria A2 , JF.Test

  • การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
  • การประเมินระดับชาติเป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผลการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ

โรงเรียนในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษามีระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของโรงเรียนที่สอดคล้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เป็นข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  และโรงเรียนมาตรฐานสากล  เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกัน

          แนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานทะเบียน

1.  การมอบตัว

          นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกได้ตามประกาศของโรงเรียน  จะต้องมีเอกสารการมอบตัว  ดังต่อไปนี้ 

  • ใบปพ.1 : ปซึ่งแสดงว่าจบชั้นป.6 หรือใบปพ.1:บ ซึ่งแสดงว่าจบชั้นม.3 ให้ถ่ายสำเนาเอกสารไปพร้อมกับฉบับจริง  โรงเรียนจะเก็บเฉพาะสำเนาเอกสารไว้เป็นหลักฐาน  ฉบับจริงจะคืนให้กับนักเรียน
  • สำนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อนักเรียน ชื่อสกุลของบิดามารดา  ให้ถ่ายสำเนาเอกสารไปพร้อมกับฉบับจริง  โรงเรียนจะเก็บเฉพาะฉบับสำเนาเอกสาร  ฉบับจริงจะคืนให้นักเรียน  ในกรณีที่ไม่สามารถสำเนาทะเบียนบ้านหรือนำฉบับจริงมาได้  ให้ไปขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านจากนายทะเบียนท้องถิ่น (ที่ว่าการอำเภอ  หรือเทศบาล  คัดเฉพาะของนักเรียน  บิดา  มารดา)
  • หลักฐานตามข้อ 1 และ 2 จะต้องถูกต้องตรงกัน หากยังไม่ตรงให้แก้ไขให้ต้อง มิฉะนั้นโรงเรียนจะไม่รับมอบตัว
  • ในกรณีเปลี่ยนชื่อ-สกุล ของนักเรียนหรือบิดามารดา หรือเปลี่ยนวัน  เดือน  ปี  เกิด  แต่หลักฐานการเรียนยังไม่เปลี่ยนตาม  จะต้องนำใบสำคัญในการเปลี่ยนชื่อ-สกุล  หรือวัน  เดือน  ปี  เกิด  พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสารไปแสดงด้วย  เมื่อเปิดภาคเรียน  ให้นักเรียนไปยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อ-สกุล  ที่ฝ่ายทะเบียนของโรงเรียน
  • สำเนานักเรียนที่สำเร็จ ม.3 จากโรงเรียนยโสธรพิทยาคม และเรียนต่อที่เดิม ให้นำใบ ปพ.1 :   พร้อมทั้งถ่ายเอกสารไปแสดงด้วย

2.  การแก้ วัน เดือน ปีเกิด

          เมื่อนักเรียนทราบว่า  วัน  เดือน  ปีเกิด  ของตนเอง  ไม่ตรงกับหลักฐาน  หรือความเป็นจริง  หากมีความประสงค์จะแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริง  ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

          1.  นักเรียน/ผู้ปกครอง  ยื่นคำร้องขอแก้ วัน เดือน ปีเกิด  ของนักเรียนต่อผู้อำนวยการโรงเรียน

          2.  แนบสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านไปกับคำร้อง

          3.  การแก้วัน เดือน ปีเกิด  เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด  โดยโรงเรียนจะแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว  และนักเรียนต้องติดต่อขอแก้ให้เรียบร้อยก่อนวันสอบปลายภาคประจำปี

3.  การขอแก้ชื่อ-สกุล

          เมื่อนักเรียนได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อ  ชื่อสกุล  จากกระทรวงมหาดไทยแล้ว  และประสงค์จะขอเปลี่ยนชื่อ  ชื่อสกุลที่โรงเรียน  ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

          1.  นักเรียน/ผู้ปกครองยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุลของนักเรียนต่อผู้อำนวยการโรงเรียน

          2.  นำใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ  ชื่อสกุล  ฉบับจริงพร้อมกับสำเนาใบสำคัญแนบมาด้วย

          3.  นำสำเนาทะเบียนบ้านที่ได้แก้ชื่อ  หรือชื่อสกุลแล้ว  แนบมาด้วย

          4.  การขอเปลี่ยนชื่อ  หรือชื่อสกุล  ต้องขอให้แก้ไขเสร็จสิ้นก่อนการสอบปลายปี

4.  การขอใบรับรอง

          นักเรียนที่ต้องการให้โรงเรียนออกใบรับรองว่าปัจจุบันกำลังเรียนอยู่ที่โรงเรียนยโสธรพิทยาคม  เพื่อใช้ในการขอรับทุนหรือสมัครเรียนที่อื่น  ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

          1.  ยื่นคำร้องขอใบรับรองที่ห้องทะเบียน

          2.  แนบรูปถ่ายขาว-ดำ ขนาด 3×4 เซนติเมตร  จำนวน 1 รูป ต่อ เอกสาร 1 ฉบับ

          ใบรับรองจะมีผลใช้ได้ภายใน  120  วันนับตั้งแต่วันออกใบรับรอง

5.  การขอหลักฐานแสดงวุฒิบัตรทางการศึกษา

          ใบแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ปพ1. : บ)  และใบแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ปพ1. : พ)  โรงเรียนจะออกให้เมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษา  หรือลาออกจากโรงเรียน  ให้ดำเนินการต่อไปนี้

          1. ยื่นคำร้องขอ  ปพ.1  ที่ห้องทะเบียน                                                                    

          2. แนบรูปถ่ายขาว-ดำ ขนาด 3×4  เซนติเมตร จำนวน 1 รูป  ต่อ เอกสาร 1 ฉบับ

          3. จะได้รับประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี  ส่วนนักเรียนที่ไม่จบพร้อมรุ่นจะได้รับหลังวันที่  16  พฤษภาคม  ของทุกปี

          4. หากใบแสดงผลการเรียนสูญหาย  นักเรียนสามารถขอหลักฐานแสดงผลการเรียนใหม่ได้

          5. ประกาศนียบัตรจะออกให้ครั้งเดียว  ถ้าชำรุดเสียหายจะออกเป็นฉบับใบแทนให้โดยใช้กระดาษธรรมดา

 

 

 

 

 

6.  การขอหลักฐานแสดงผลการเรียนอื่นๆ

          1. ระเบียนผลการเรียน (Transcript) (ปพ.1)ออกให้เฉพาะนักเรียนที่มีผลการเรียนผ่านเกณฑ์

          2. ใบรับรองผลการศึกษา (ปพ.7)

          การขอเอกสารให้ผู้ยื่นคำร้องที่ห้องทะเบียนในเวลาราชการ  โดยแต่งกายชุดสุภาพ  นักเรียนให้แต่งเครื่องแบบนักเรียน

7.  การขอพักการเรียน

          1. ผู้ปกครองยื่นคำร้องขอพักการเรียน  พร้อมเหตุผลที่ห้องทะเบียน

          2. เมื่อต้องการกลับเข้าศึกษาต่อ  ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนและผู้อำนวยการโรงเรียนตามลำดับ

8.  การขอลานักเรียนออกจากโรงเรียน

          1. ผู้ปกครองยื่นคำร้องขอลานักเรียนออกจากโรงเรียนที่ห้องทะเบียน

          2. แนบรูปถ่ายขาว – ดำ ขนาด  3×4  เซนติเมตร  จำนวน  2  รูป

9.  การแก้  0, ร, มส  หรือ  มผ   

          นักเรียนที่มีผลการเรียนเป็น  0, ร, มส  และ  มผ  ให้ดำเนินการดังขั้นตอนต่อไปนี้

          1. งานวัดผลประกาศตารางสอบแก้ตัว  ให้นักเรียนมาสอบแก้ตัวตามตาราง

          2. นักเรียนรับคำร้องขอสอบแก้ตัวที่ห้องทะเบียน  แล้วกรอกรายละเอียดให้ถูกต้อง

          3. ดำเนินการยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่วัดผลกลุ่มสาระ  และหัวหน้ากลุ่มสาระที่นักเรียนสังกัด  จากนั้นนำใบคำร้องยื่นต่อครูผู้สอนเพื่อติดต่อขอสอบแก้ตัว  จากนั้นครูผู้สอนดำเนินการสอบแก้ตัวแล้วนำผลการสอบแก้ตัวส่งงานทะเบียนด้วยตัวเอง

          4. นักเรียนที่ไม่มาสอบครั้งแรก  จะต้องรอสอบครั้งที่ 2  โดยต้องดำเนินการยื่นคำร้องเช่นเดียวกับการสอบแก้ตัวครั้งที่ 1

          5. ในแต่ละภาคการศึกษานักเรียนจะสอบแก้ตัวได้ 2 ครั้ง  ตามวันเวลา  ที่งานวัดผลกำหนด

10.  การอนุมัติการจบหลักสูตร

          โรงเรียนได้กำหนดการอนุมัติการจบหลักสูตรไว้  3  ช่วง  ดังนี้

          ครั้งที่ 1  ระหว่างวันที่  25 – 31  มีนาคม  ของทุกปี

          ครั้งที่ 2  ช่วงสัปดาห์ที่ 1  ของเดือนเมษายน  ของทุกปี

          ครั้งที่ 3  ก่อนวันที่  16  พฤษภาคม  ของทุกปี

          ดังนั้นนักเรียนที่ต้องการจบหลักสูตรต้องดำเนินการแก้  0, ร, มส  และ  มผ ให้เสร็จสิ้นก่อนช่วงเวลาดังกล่าวของการอนุมัติการจบหลักสูตร

 

 

 

ข้อควรจำ

  • การขอใบปพ.1: บ และปพ.1: พ ควรรับตรงตามกำหนดเวลาที่โรงเรียนกำหนด 
  • การส่งรูปเพื่อติดตามหลักฐานต่างๆ ให้เขียนชื่อ ชื่อสกุล  เลขประจำตัวนักเรียนชั้นห้องให้ถูกต้องชัดเจน  เพื่อฝ่ายทะเบียนจะได้ค้นหลักฐาน  และการส่งไว้วันที่แจ้งขอใบรับรองกับฝ่ายทะเบียน
  • การออก ปพ.1 จะออกให้นักเรียนที่มีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ทุกรายวิชา คือ มีผลการเรียน 1 – 4 และมีผลกิจกรรมผ่านเกณฑ์
  • รูปถ่ายที่ใช้ขอเอกสารเป็นรูปถ่ายขาว – ดำ ขนาด 3 × 4 เซนติเมตร

 

โครงสร้างเวลาเรียน

          หลักสูตรโรงเรียนยโสธรพิทยาคม พุทธศักราช 2563ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) และโรงเรียนมาตรฐานสากล  กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียน  ดังนี้

 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ /กิจกรรม

เวลาเรียน

 
 

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

 
 

ม.1

 (หน่วยกิต/ชม.)

ม.2

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.3

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.4

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.5

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.6

(หน่วยกิต/ชม.)

 
 

รายวิชาพื้นฐาน

 
 

ภาษาไทย

3.0(120)

3.0(120)

3.0(120)

2.0(80)

2.0(80)

2.0(80)

 
 

คณิตศาสตร์

3.0(120)

3.0(120)

3.0(120)

2.5(100)

2.5(100)

1.0(40)

 
 

 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4.0(160)

4.0(160)

4.0(160)

7.0(280)

-

-

 
 

  สังคมศึกษา  ศาสนาและ วัฒนธรรม

4.0(160)

4.0(160)

4.0(160)

3.0(120)

3.0(120)

2.0(120)

 
 

สุขศึกษาและพลศึกษา

2.0(80)

2.0(80)

2.0(80)

1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

 
 

ศิลปะ

2.0(80)

2.0(80)

2.0(80)

1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

 
 

  การงานอาชีพ

1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

 
 

ภาษาต่างประเทศ

3.0(120)

3.0(120)

3.0(120)

2.0(80)

2.0(80)

2.0(80)

 
 

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

22.0(880)

22.0(880)

22.0(880)

19.5(780)

12.5(480)

10.0(400)

 
 

* กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

120

120

120

120

120

 
 

 

แผนการเรียนทั่วไป

แผนการเรียน  วิทย์ – คณิต

 
 

รายวิชาเพิ่มเติม

ม.1

(หน่วยกิต/

ชม.)

ม.2

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.3

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.4

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.5

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.6

(หน่วยกิต/ชม.)

 
 

คณิตศาสตร์

2.0(80)

2.0(80)

2.0(80)

2.5(100)

2.5(100)

4.0(160)

 
 

ภาษาต่างประเทศ

- ภาษาอังกฤษ

- ภาษาจีน,ญี่ปุ่น (1ภาษา)

3.0(120)

1.0(40)

2.0(80)

1.0(40)

2.0(80)

1.0(40)

1.5 (60)

1.0(40)

2.0(80)

1.0(40)

2.0(80)

1.0(40)

 
 

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1.0 (40)

-

-

5.0(200)

10.0(400)

10.0(400)

 
 

ภาษาไทย

1.0 (40)

-

-

       
 

ศิลปะ

1.0 (40)

-

-

       
 

การงานอาชีพ

-

-

-

-

2.0(80)

1.0(40)

 
 

IS1 , IS2

1.0(40)

1.0(40)

-

1.0(40)

1.0(40)

-

 
 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ /กิจกรรม

เวลาเรียน

 
 

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ

 
 

รายวิชาเพิ่มเติม

ม.1

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.2

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.3

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.4

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.5

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.6

(หน่วยกิต/ชม.)

 
 

คณิตศาสตร์

2.0(80)

2.0(80)

4.0(160)

3.0 (120)

4.0(160)

5.0(200)

 
 

ภาษาต่างประเทศ

- ภาษาอังกฤษ

- ภาษาจีน,ญี่ปุ่น ( 1ภาษา )

2.0(80)

1.0(40)

2.0(80)

1.0(40)

1.5 (60)

1.0(40)

1.5 (60)

1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

2.0(80)

1.0(40)

 
 

ภาษาไทย

-

1.0(40)

-

-

-

-

 
 

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3.0(120)

5.0(200)

5.0(200)

8.5(340)

16.5(660)

13.0(520)

 
 

การงานอาชีพ

-

-

-

-

-

-

 
 

IS1, IS2

1.0(40)

1.0(40)

-

1.0(40)

1.0(40)

   
 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ /กิจกรรม

เวลาเรียน

 
 

แผนการเรียน MEP

แผนการเรียน MEP

 
 

รายวิชาเพิ่มเติม

ม.1

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.2

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.3

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.4

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.5

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.6

(หน่วยกิต/ชม.)

 
 

คณิตศาสตร์

4.0(160)

4.0(160)

4.0(160)

4.5(180)

4.5(180)

6.0 (240)

 
 

ภาษาอังกฤษ

2.0(80)

2.0(80)

2.0(80)

2.0(80)

2.0(80)

2.0(80)

 
 

ภาษาจีน,ญี่ปุ่น ( 1ภาษา )

1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

    1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

 
 

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

-

-

-

8.5(340)

13.5(540)

13.0(520)

 
 

สังคมศึกษา  ศาสนาและ วัฒนธรรม

-

-

-

-

-

-

 
 

การงานอาชีพ

-

-

-

-

-

-

 
 

ศิลปะ

-

-

-

-

-

-

 
 

IS1, IS2

1.0(40)

1.0(40)

-

1.0(40)

1.0(40)

-

 
     
 

 

 

แผนการเรียน ภาษาศาสตร์ – จีน – อังกฤษ

 
 

รายวิชาเพิ่มเติม

     

ม.4

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.5

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.6

(หน่วยกิต/ชม.)

 
 

ภาษาอังกฤษ

     

3.0 (100)

3.0(120)

3.0(120)

 
 

ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ

     

6.0(240)

6.0(240)

6.0(240)

 
 

ภาษาไทย

     

1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

 
 

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     

-

1.0(40)

1.0(40)

 
 

สังคมศึกษา  ศาสนาและ วัฒนธรรม

     

-

2.0(80)

1.0(40)

 
 

การงานอาชีพ

     

-

-

2.0(80)

 
 

IS1, IS2

     

1.0(40)

1.0(40)

-

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ /กิจกรรม

เวลาเรียน

   

 

 

แผนการเรียน ภาษาศาสตร์ – ญี่ปุ่น – อังกฤษ

   

รายวิชาเพิ่มเติม

     

ม.4

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.5

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.6

(หน่วยกิต/ชม.)

   

ภาษาอังกฤษ

     

3.0(120)

3.0(120)

3.0(120)

   

ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น

     

6.0(240)

6.0(240)

6.0(240)

   

ภาษาไทย

     

1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

   

วิทยาศาสตร์

     

-

1.0(40)

1.0(40)

   

สังคมศึกษา  ศาสนาและ วัฒนธรรม

     

-

2.0(80)

1.0(40)

   

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

     

-

-

-

   

IS1, IS2

     

1.0(40)

1.0(40)

-

   

 

ห้องเรียนพิเศษAP

ห้องเรียนพิเศษ AP

   

รายวิชาเพิ่มเติม

ม.1

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.2

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.3

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.4

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.5

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.6

(หน่วยกิต/ชม.)

   

คณิตศาสตร์

2.0(80)

4.0(80)

2.0(80)

4.5(180)

5.5(220)

5.0(200)

   

ภาษาต่างประเทศ

- ภาษาอังกฤษ

- ภาษาจีน,ญี่ปุ่น( 1ภาษา )

2.0(80)

1.0(40)

1.5(80)

1.0(40)

2.0(80)

1.0(40)

2.0(80)

1.0(40)

2.0(80)

1.0(40)

2.0(80)

1.0(40)

   

วิทยาศาสตร์

5.0(80)

5.0(80)

5.0(80)

9.5(380)

15.5(620)

9.5(380)

   

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

-

-

-

1.0(40)

1.0(40)

3.0(120)

   

สุขศึกษาและพลศึกษา

-

-

-

         

ภาษาไทย

1.0(40)

-

-

         

IS1, IS2

1.0(40)

1.0(40)

-

1.0(40)

1.0(40)

     

 

 

 

 

แผนการเรียน ศิลปะ – เทคโนโลยี

   

รายวิชาเพิ่มเติม

     

ม.4

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.5

(หน่วยกิต/ชม.)

ม.6

(หน่วยกิต/ชม.)

   

ภาษาอังกฤษ

     

3.0(120)

3.0(120)

3.0(120)

   

ภาษาจีน,ญี่ปุ่น

     

1.0(40)

1.0(40)

1.0(40)

   

ภาษาไทย

     

-

1.0(40)

2.0(40)

   

วิทยาศาสตร์

     

3.0(120)

3.0(120)

3.0(120)

   

สังคมศึกษา  ศาสนาและ วัฒนธรรม

     

-

-

2.0(80)

   

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

     

-

-

-

   

ศิลปะ

     

3.0(120)

3.0(120)

3.0(120)

   

IS1, IS2

     

1.0(40)

1.0(40)

-

   
                                                     

สามารถ ดาวน์โหลด รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตรที่ QR CODE ข้างล่าง

 

โรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ตารางจำแนกความรับผิดชอบห้องเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้และจำนวนครูประจำปีการศึกษา 2564

กลุ่มสาระการเรียนรู้

ระดับชั้น ม.1

ห้องที่รับผิดชอบ

ระดับชั้น ม.2

ห้องที่รับผิดชอบ

ระดับชั้น ม.3

ห้องที่รับผิดชอบ

ระดับชั้น ม.4

ห้องที่รับผิดชอบ

ระดับชั้น ม.5

ห้องที่รับผิดชอบ

ระดับชั้น ม.6

ห้องที่รับผิดชอบ

จำนวนห้องเรียน

จำนวนครู

ประจำคณะสี

คณิตศาสตร์

7,8,16

2,7, 12,16

2,7,16

7,13

2,5,13

2,5, 13

18

30

แสด

ภาษาไทย

2 , 3

6

8

2

3,7

3, 7

9

16

เขียว

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5,6, 9, 10,17

5,10,17

5,10,17

4, 5, 8,11, 14

8,14

8,11,14

21

46

ชมพู

ภาษาต่างประเทศ

13,14,15

13,14,15

13,14,15

10,12

10,12

10,12

15

29

เหลือง

ศิลปะ

4

9

9

9

9

9

6

13

ฟ้า

สังคมศึกษาฯ

1,11

1,4, 11

1,11

1

1,6

1,6

12

21

ฟ้า

สุขศึกษาฯ

 

3, 8

3

 

4

4

5

8

เขียว

การงานอาชีพ

-

 

4,6

3

-

-

3

7

เหลือง

แนะแนว

12

 

12

6

11

-

4

7

เขียว

รวม

17 ห้อง

17 ห้อง

17 ห้อง

14 ห้อง

14 ห้อง

14 ห้อง

93

172

5 คณะสี

คณะสี

กลุ่มสาระการเรียนรู้

จำนวนห้อง

จำนวนครู

การจัดห้องเรียน

 การจัดห้องตามแผนการเรียนม.4-6

แสด

ชมพู

เหลือง

ฟ้า

เขียว

คณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ภาษาต่างประเทศและการงานอาชีพ

สังคมศึกษาฯและศิลปะ

ภาษาไทย  สุขศึกษา ฯ และแนะแนว

18

21

18

18

18

30

45

34

34

31

1. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ (Gifted) ได้แก่ม.1/17, 2/17, 3/17, 4/14, 5/14, 6/14

2. ห้องเรียน Mini English Program ได้แก่

ม.1/14, 1/15, 2/14, 2/15 , 3/14, 3/15, 4/12, 5/12, 6/12

3. ห้อง King ได้แก่ ม.1/1, 1/2, 2/1, 2/2, 3/1, 3/2, 4/1, 4/2, 5/1, 5/2, 6/1, 6/2

4. ห้อง AP ได้แก่ ม.1/16, 2/16, 3/16, 4/13, 5/13, 6/13

ห้อง 1 – 8 แผนเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์

ห้อง 9 แผนเรียนภาษาศาสตร์ – ภาษาจีน – อังกฤษ

ห้อง 10 แผนเรียนภาษาศาสตร์ –ภาษาญี่ปุ่น – อังกฤษ

ห้อง 11 แผนเรียนเทคโน – ศิลป์

ห้อง 12 ห้องเรียนพิเศษ Mini English Program

ห้อง 13 ห้องเรียนพิเศษ AP

ห้อง 14 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ

[youtube:https://www.youtube.com/watch?v=l2HeUXoDbc0]